โรคเบาหวานเป็นโรคที่ผู้คนส่วนใหญ่รู้จักกันพอควร แต่ผู้ป่วยส่วนใหญ่ยังไม่ทราบ ความสำคัญของการรักษาโรคนี้นัก แพทย์เองก็ไม่ได้ให้ความสำคัญกับการรักษา ผู้ป่วยเบาหวานเป็นอย่างดี แพทย์หลายๆท่านรักษาเบาหวาน เฉพาะเพียงลดระดับ น้ำตาลในเลือดเท่านั้น แต่ความจริงแล้ว โรคเบาหวาน ไม่ใช่แค่ระดับน้ำตาลในเลือดสูง เท่านั้น แต่เป็นโรคร้าย ที่หากไม่ได้รับดูแลอย่างดีแล้ว จะเกิดผลเสียตามมามากมาย ..... หมอโรคหัวใจ และ หมอโรคไต ทราบดี เพราะผู้ป่วยโรคหัวใจ และ ไตวายเรื้อรังส่วนใหญ่ เป็นเบาหวาน
โรคเบาหวานเป็นความผิดปกติเนื่องจากร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลในร่างกายไปใช้ได้อย่างเต็มที่ สาเหตุเนื่องจากขาดฮอร์โมน อินซูลิน หรือ ไม่ขาดฮอร์โมน แต่ร่างกายไม่ตอบสนองต่อ ฮอร์โมนตัวนี้ ผลที่ตามมาคือระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ ปัจจุบัน หากระดับน้ำตาล ในเลือดที่เจาะหลังงดอาหาร 6 ชั่วโมงแล้ว ยังสูงกว่า 126 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร เราก็เรียกได้ว่าเป็น "โรคเบาหวาน" ได้แล้วครับ
ระดับน้ำตาลที่สูงนี้เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหา ต่างๆตามมา ที่สำคัญคือเป็นตัว การเร่งให้เกิดการเสื่อมของหลอดเลือดแดงทั่วร่างกาย ทั้งหลอดเลือดแดงที่เลี้ยง สมอง หัวใจ ตา ไต แขน-ขา รวมทั้ง หลอดเลือดแดงเล็กๆที่เลี้ยง ปลายประสาทอีกด้วย ทำให้เกิดการตีบตันของหลอดเลือดแดงเหล่านี้ ดังนั้นจะเห็นว่า "โรคเบาหวาน" เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อ โรคทางสมอง อัมพาต โรคระบบประสาท โรคหัวใจ โรคไต โรคตา แม้กระทั่งโรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ หรือ ED ด้วย
หลักสำคัญในการรักษาผู้ป่วยเบาหวาน ที่ผู้ป่วยควรทราบ
* ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติให้มากที่สุดตลอดเวลา การที่จะ ทำเช่นนั้นได้ ต้องอาศัยความร่วมมืออย่างมากจากผู้ป่วย ญาติผู้ป่วย (ประเภทหวังดี ซื้อของมาให้รับประทาน หรือ ให้คำแนะนำผิดๆ) โดยการควบคุมอาหารอย่างเคร่ง ครัด รับประทานยาตามสั่ง ออกกำลังกายตามสมควร ลดน้ำหนัก หากยาไม่ได้ผลดีก็ จำเป็นต้องฉีดอินซูลิน
* หากมีความดันโลหิตสูงก็จำเป็นที่จะต้องลดความดันโลหิตให้น้อยกว่า หรือ ใกล้เคียง 130/80 มม.ปรอท ทั้งนี้ต้องไม่มีผลแทรกซ้อนจากยาลดความดันโลหิตด้วย จะสามารถ ป้องกัน หรือ ชลอภาวะไตวายได้
* ลดไขมันคอเลสเตอรอลในเลือดลงมากๆ โดยใช้ค่า LDL-Cholesterol เป็นเกณฑ์ ให้ LDL-C น้อยกว่า 100 มก./ดล. เทียบเท่าผู้ที่มีโรคหัวใจอยู่ เนื่องจากผู้ป่วย เบาหวานแทบทุกรายมีการตีบตันของหลอดเลือดหัวใจซ่อนอยู่ด้วย การลดระดับ ไขมันในเลือดลงมากๆ (Cholesterol) จะช่วยลดปัญหาแทรกซ้อนทางหัวใจลง ปัจจุบันยาที่ใช้ลดไขมันคอเลสเตอรอลได้ดีมากที่สุด คือ ยากลุ่ม statins
* แนะนำให้ผู้ป่วยพบจักษุแพทย์ทุก 6 เดือน เพื่อป้องกันตาบอดจากเบาหวานขึ้นตา จอประสาทตาเสื่อม
* แนะนำให้ผู้ป่วยดูแลตนเองที่บ้าน อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง การดูแลเท้า ผิวหนัง (โอกาสเกิดแผลที่เท้า และ ทำให้ต้องตัดเท้าพบได้บ่อยๆ)
จะเห็นว่า การรักษาโรคเบาหวาน ไม่ใช่แค่การไปเจาะเลือด ดูน้ำตาลในเลือด แล้วจัด ยาเฉยๆ แต่การรักษาเบาหวานที่ได้มาตรฐาน จะเป็นการดูแลผู้ป่วยทุกระบบ โดยหวัง ว่าการดูแลอย่างดี จะช่วยป้องกันผลแทรกซ้อนที่ร้ายแรงจากเบาหวานได้ เช่น อัมพาต ไตวาย ตาบอด กล้ามเนื้อหัวใจตาย เป็นต้น การรักษาเบาหวานให้ดี จึงไม่ใช่เรื่อง "หมูๆ" หรือ "หวานๆ" อย่างที่คิด
วันอังคาร, พฤศจิกายน ๒๑, ๒๕๔๙
Vitamin E
คาดว่าแทบทุกท่านคงเคยได้ยินโฆษณาเกี่ยวกับคุณสมบัติครอบจักรวาลของ Vitamin E กันมาบ้างแล้ว เช่น ป้องกันเซลเสื่อม ป้องกัน “แก่” ลบรอยเหี่ยวย่นบนใบหน้า บำรุงผิวพรรณ ต้านมะเร็ง ไปจนถึงป้องกันโรคหัวใจ บทความนี้จะเน้นเกี่ยวกับผล ของการเสริม Vitamin E ในผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือด
โรคหัวใจขาดเลือดเกิดจากการที่มีไขมันคอเลสเตอรอลสะสมอยู่ในผนังหลอดเลือด ความเป็นจริงแล้วการสะสมของ ไขมันนี้ เกิดจากหลายๆ ปัจจัยประกอบกัน แต่ปัจจัยหนึ่งที่สำคัญคือไขมันคอเลสเตอรอลชนิดร้าย หรือ LDL- Cholesterol ในชั้น ผนังหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดตีบ ไขมันนี้ปกติอยู่ในกระแสเลือด การที่จะเข้าไปสะสมอยู่ ในผนังหลอดเลือดได้นั้น ไขมันชนิดนี้ จะถูกขบวนการ “อ็อกซิเดชั่น” ก่อน (Oxidation) จึงเข้าไปสะสมได้ Vitamin E มีคุณสมบัติเป็นตัวต้านขบวนการอ็อกซิเดชั่น (Anti-Oxidant) จึงมีผู้ศึกษาผลของ Vitamin E ในผู้ป่วยโรคหัวใจ โดย หวังว่าการเสริม Vitamin E จะช่วยต้านการสะสมของ ไขมัน LDL-Cholesterol ในผนังหลอดเลือด เป็นผลป้องกัน โรคหัวใจ หรือ ลดความรุนแรงของโรคลง สารที่มีคุณสมบัติเป็น Anti-Oxidant นอกจาก Vitamin E แล้ว ยังมีสารอื่นๆอีก เช่น Vitamin C , Beta-carotene
Vitamin E ช่วยป้องกันโรคหัวใจหรือไม่
ตามหลักการแล้วก็น่าจะเป็นเช่นนั้น แต่ในโลกแห่งความเป็นจริงแล้ว ร่างกายคนเราซับซ้อนเกินกว่าที่จะเข้าใจง่ายๆ เช่นนั้น 1+1 ไม่ได้เป็น 2 เสมอไป การศึกษาเกี่ยวกับ Vitamin E กับโรคหัวใจมีมานานแล้ว ในระยะแรกๆพบว่า ผู้ป่วยโรคหัวใจส่วนหนึ่งมีระดับ Vitamin E ต่ำกว่าปกติ และมีหลาย การศึกษาชี้ให้เห็นว่าการเสริม Vitamin E จะช่วยป้องกันโรคหัวใจ แต่อย่างไรก็ตาม การศึกษา เหล่านั้นเป็นการศึกษาย้อนหลัง หรือ การศึกษาเปรียบเทียบ ย้อนหลัง ซึ่งการศึกษาชนิดนี้มีข้อจำกัดมาก ทำให้ความน่า เชื่อถือลดลงมาก
การศึกษาที่ดีกว่าและถือว่ายอบรับได้มากที่สุด คือ การศึกษาเปรียบเทียบ ระหว่างผลของยาจริง กับ ยาหลอก โดยการสุ่ม ผู้ถูกศึกษา และ ผู้ศึกษาต่างก็ไม่ทราบว่าได้รับยาจริง หรือ ยาหลอกจนกว่าจะเสร็จสิ้นการศึกษา เป็นการ ตัดอคติจากการ ทดลองลง การศึกษาแบบนี้เรียก Randomized Double Blind Placebo Control
ปัจจุบันมีการศึกษาแบบ Randomized Double Blind Placebo Control เพื่อดูผลของ Vitamin E ในผู้ป่วย โรคหัวใจ การศึกษา แรกมาจาก Cambridge (ตีพิมพ์ในปีคศ.1996) เป็นการศึกษาในผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจอยู่แล้ว 2,002 คน ในจำนวนนี้ 1,035 คนได้รับ Vitamin E ขนาด 400-800 IU ต่อวัน และ 967 คนได้รับยาหลอก ติดตามผู้ป่วยไปประมาณ 1 ปีครึ่ง พบว่าผู้ที่ได้รับ Vitamin E เกิดกล้ามเนื้อหัวใจตาย หรือ Heart attack น้อยกว่ากลุ่มยาหลอกอย่างมาก ผลนี้เริ่มเห็นได้เมื่อ รับประทาน Vitamin E อย่างน้อย 1 ปี แต่อย่างไรก็ตามพบว่าแม้จะลด Heart attack ลง แต่อัตราตายจาก โรคหัวใจไม่ได้ลดลงเลย พูดง่ายๆคือ Vitamin E ในผู้ป่วยโรคหัวใจไม่ได้ทำให้อายุยืนยาวขึ้นนั่นเอง
การศึกษาต่อมา เพิ่งลงพิมพ์ในวารสาร New England Journal of Medicine มกราคม ปี 2000 ชื่อย่อๆว่า HOPE Study ผู้เข้าการศึกษาเป็นผู้ที่มีโรคของหลอดเลือดอยู่แล้ว เช่น หลอดเลือดหัวใจ หรือ หลอดเลือดสมอง (ไม่ใช่คน แข็งแรงที่ยังไม่มีโรค) ประมาณ 9,541คน ครึ่งหนึ่งไดรับ Vitamin E 400 IU ต่อวัน ส่วนอีกครึ่งหนึ่งได้รับยาหลอก (placebo) เมื่อติดตามไปประมาณ 4.5 ปี พบว่าอัตราตาย อัตราการเกิดโรคหัวใจ (Heart attack) ไม่แตกต่างกันเลย จึงสรุปว่า Vitamin E ไม่ได้ประโยชน์ในการป้องกันโอกาสเกิดปัญหาแทรกซ้อนจาก โรคหัวใจเลย เมื่อรวมเอาการศึกษาเกี่ยวกับ Vitamin E ทั้งหมดเข้าด้วยกัน รวมประชากรที่ศึกษามากกว่า 50,000 คน ก็ไม่พบว่า Vitamin E จะได้ประโยชน์เลย
ที่เล่ามานั้นเป็นการศึกษาในผู้ป่วยที่เกิดโรคแล้ว ไม่ใช่เป็นการใช้ Vitamin E เพื่อการป้องกันโรคหัวใจ จนถึงปัจจุบันนี้ยังไม่มีการศึกษาดีๆเลยว่า Vitamin E จะช่วย “ป้องกัน” ไม่ให้คนที่แข็งแรงดีเกิดโรค หัวใจขึ้น
โรคหัวใจขาดเลือดเกิดจากการที่มีไขมันคอเลสเตอรอลสะสมอยู่ในผนังหลอดเลือด ความเป็นจริงแล้วการสะสมของ ไขมันนี้ เกิดจากหลายๆ ปัจจัยประกอบกัน แต่ปัจจัยหนึ่งที่สำคัญคือไขมันคอเลสเตอรอลชนิดร้าย หรือ LDL- Cholesterol ในชั้น ผนังหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดตีบ ไขมันนี้ปกติอยู่ในกระแสเลือด การที่จะเข้าไปสะสมอยู่ ในผนังหลอดเลือดได้นั้น ไขมันชนิดนี้ จะถูกขบวนการ “อ็อกซิเดชั่น” ก่อน (Oxidation) จึงเข้าไปสะสมได้ Vitamin E มีคุณสมบัติเป็นตัวต้านขบวนการอ็อกซิเดชั่น (Anti-Oxidant) จึงมีผู้ศึกษาผลของ Vitamin E ในผู้ป่วยโรคหัวใจ โดย หวังว่าการเสริม Vitamin E จะช่วยต้านการสะสมของ ไขมัน LDL-Cholesterol ในผนังหลอดเลือด เป็นผลป้องกัน โรคหัวใจ หรือ ลดความรุนแรงของโรคลง สารที่มีคุณสมบัติเป็น Anti-Oxidant นอกจาก Vitamin E แล้ว ยังมีสารอื่นๆอีก เช่น Vitamin C , Beta-carotene
Vitamin E ช่วยป้องกันโรคหัวใจหรือไม่
ตามหลักการแล้วก็น่าจะเป็นเช่นนั้น แต่ในโลกแห่งความเป็นจริงแล้ว ร่างกายคนเราซับซ้อนเกินกว่าที่จะเข้าใจง่ายๆ เช่นนั้น 1+1 ไม่ได้เป็น 2 เสมอไป การศึกษาเกี่ยวกับ Vitamin E กับโรคหัวใจมีมานานแล้ว ในระยะแรกๆพบว่า ผู้ป่วยโรคหัวใจส่วนหนึ่งมีระดับ Vitamin E ต่ำกว่าปกติ และมีหลาย การศึกษาชี้ให้เห็นว่าการเสริม Vitamin E จะช่วยป้องกันโรคหัวใจ แต่อย่างไรก็ตาม การศึกษา เหล่านั้นเป็นการศึกษาย้อนหลัง หรือ การศึกษาเปรียบเทียบ ย้อนหลัง ซึ่งการศึกษาชนิดนี้มีข้อจำกัดมาก ทำให้ความน่า เชื่อถือลดลงมาก
การศึกษาที่ดีกว่าและถือว่ายอบรับได้มากที่สุด คือ การศึกษาเปรียบเทียบ ระหว่างผลของยาจริง กับ ยาหลอก โดยการสุ่ม ผู้ถูกศึกษา และ ผู้ศึกษาต่างก็ไม่ทราบว่าได้รับยาจริง หรือ ยาหลอกจนกว่าจะเสร็จสิ้นการศึกษา เป็นการ ตัดอคติจากการ ทดลองลง การศึกษาแบบนี้เรียก Randomized Double Blind Placebo Control
ปัจจุบันมีการศึกษาแบบ Randomized Double Blind Placebo Control เพื่อดูผลของ Vitamin E ในผู้ป่วย โรคหัวใจ การศึกษา แรกมาจาก Cambridge (ตีพิมพ์ในปีคศ.1996) เป็นการศึกษาในผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจอยู่แล้ว 2,002 คน ในจำนวนนี้ 1,035 คนได้รับ Vitamin E ขนาด 400-800 IU ต่อวัน และ 967 คนได้รับยาหลอก ติดตามผู้ป่วยไปประมาณ 1 ปีครึ่ง พบว่าผู้ที่ได้รับ Vitamin E เกิดกล้ามเนื้อหัวใจตาย หรือ Heart attack น้อยกว่ากลุ่มยาหลอกอย่างมาก ผลนี้เริ่มเห็นได้เมื่อ รับประทาน Vitamin E อย่างน้อย 1 ปี แต่อย่างไรก็ตามพบว่าแม้จะลด Heart attack ลง แต่อัตราตายจาก โรคหัวใจไม่ได้ลดลงเลย พูดง่ายๆคือ Vitamin E ในผู้ป่วยโรคหัวใจไม่ได้ทำให้อายุยืนยาวขึ้นนั่นเอง
การศึกษาต่อมา เพิ่งลงพิมพ์ในวารสาร New England Journal of Medicine มกราคม ปี 2000 ชื่อย่อๆว่า HOPE Study ผู้เข้าการศึกษาเป็นผู้ที่มีโรคของหลอดเลือดอยู่แล้ว เช่น หลอดเลือดหัวใจ หรือ หลอดเลือดสมอง (ไม่ใช่คน แข็งแรงที่ยังไม่มีโรค) ประมาณ 9,541คน ครึ่งหนึ่งไดรับ Vitamin E 400 IU ต่อวัน ส่วนอีกครึ่งหนึ่งได้รับยาหลอก (placebo) เมื่อติดตามไปประมาณ 4.5 ปี พบว่าอัตราตาย อัตราการเกิดโรคหัวใจ (Heart attack) ไม่แตกต่างกันเลย จึงสรุปว่า Vitamin E ไม่ได้ประโยชน์ในการป้องกันโอกาสเกิดปัญหาแทรกซ้อนจาก โรคหัวใจเลย เมื่อรวมเอาการศึกษาเกี่ยวกับ Vitamin E ทั้งหมดเข้าด้วยกัน รวมประชากรที่ศึกษามากกว่า 50,000 คน ก็ไม่พบว่า Vitamin E จะได้ประโยชน์เลย
ที่เล่ามานั้นเป็นการศึกษาในผู้ป่วยที่เกิดโรคแล้ว ไม่ใช่เป็นการใช้ Vitamin E เพื่อการป้องกันโรคหัวใจ จนถึงปัจจุบันนี้ยังไม่มีการศึกษาดีๆเลยว่า Vitamin E จะช่วย “ป้องกัน” ไม่ให้คนที่แข็งแรงดีเกิดโรค หัวใจขึ้น
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)