อุบัติการณ์การ การเกิดอัมพาตในต่างประเทศ เช่น ในสหรัฐอเมริกา ในยุโรป พบว่าอัตราการเกิด อัมพาต นั้น พบผู้ป่วยในอัตราที่สูง ราว 500- 1,000 คนต่อประชากร 1 แสนคน สำหรับสถิติในประเทศไทย ทางสาขาวิชาประสาทวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ศิรราชพยาบาล ได้ศึกษาไว้ พบว่า อัตราป่วย ของผู้ป่วยอัมพาต อยู่ในอัตราสูงถึง 690 ต่อประชากร 1 แสนคน
ในสหรัฐอเมริกาและประเทศที่เจริญแล้ว อัมพาตเป็นสาเหตุการตายที่สำคัญเป็นอันดับ 3 ของประชากร รองลงมาจาก โรคหัวใจ โรคมะเร็ง สำหรับประชากรไทย ผู้ป่วยอัมพาตทั่ว ๆ ไปจะมีอัตราตาย 20-25% ของผู้ป่วยทั้งหมด ดังนั้นในปีหนึ่ง ๆ ประชากรไทย จะมีผู้ป่วยเป็นอัมพาตเพิ่มขึ้น ปีละราว 1 แสนคนทุกปี จะเห็นได้ว่า ปัญหาอัมพาต จึงเป็นปัญหาใหญ่ และเป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขของประเทศ
ศาสตราจารย์ นายแพทย์นิพนธ์ พวงวรินทร์ ได้รวบรวมสาเหตุของโรคอัมพาตที่เกิดจาก "โรคหลอดเลือดสมอง" ไว้ 5 ประการ คือ
หลอดเลือดสมองตีบ (cerebral thrombosis) ภาวะเช่นนี้ เกิดขึ้นเนื่องจาก หลอดเลือด มีการแข็งตัว ที่เรียกว่า atherosclerosis จึงมีผลให้เลือดไปยังสมองได้น้อย และมีการตัน ในหลอดเลือดนั่นเอง
การอุดตันในหลอดเลือด (cerebral embolism) สาเหตุเพราะมีก้อนเลือดหลุด มาจากที่ต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น จากหัวใจแล้วมาอุดหลอดเลือดในสมอง จึงทำให้สมองขาดเลือดดังกล่าวแล้ว
หลอดเลือดสมองแตก (cerebral haemorrhage) เกิดจากการที่หลอดเลือดใน สมองแข็ง แล้วมีการแตกของหลอดเลือด จึงทำให้เลือดออกมาในเนื้อสมองหรือที่ฐานสมอง ยังผลให้ สมองขาดเลือดไปหล่อเลี้ยง
การบีบตัวของหลอดเลือดในสมอง (spasm of artery) ภาวะนี้ เกิดจากการที่ มีการระคายเคือง ของหลอดเลือดในสมอง จึงทำให้หลอดเลือดในสมอง มีการหดตัว หรือบีบตัวอย่างรุนแรง ยังผลให้เลือดไปเลี้ยงสมองส่วนปลายไม่ได้ จึงเกิดอัมพาตขึ้น
การอักเสบของหลอดเลือด (arteritis) เกิดจากภาวะที่มีการอักเสบในสมอง เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ วัณโรคของสมอง และมีผลทำให้หลอดเลือดของสมอง อักเสบตามมา ทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ คำถามที่ประชาชนชอบถามก็คือ "อยู่ดี ๆ ทำจึงเป็นอัมพาต" แพทย์หลายคนก็มักจะตอบว่า " ที่จริงแล้ว ท่านคงมีปัจจัยเสี่ยงสำคัญ ที่อาจทำให้ท่านเป็นอัมพาต แอบแฝงอยู่แล้ว แต่ท่านไม่ทราบ ไม่หลีกเลี่ยง ปัจจัยเสี่ยง และไม่รักษาโรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยงให้ดีจึงเกิดอัมพาต
ปัจจัยเสี่ยง ที่สำคัญ ที่ทำให้ผู้ป่วย เป็นอัมพาต และเป็นสิ่งที่เรา จำเป็นจะต้องหลีกเลี่ยง และให้การรักษา หรือป้องกัน ได้แก่
โรคความดันโลหิตสูง ภาวะนี้พบว่าเป็นสาเหตุใหญ่ที่ทำให้หลอดเลือดแข็งตัว และทำให้เกิด โรคอัมพาตได้มาก ทั้งชนิดหลอดเลือดแตก และหลอดเลือดตีบ ภาวะโรคความดันโลหิตสูงนี้ จะทำให้ผู้ป่วย มีโอกาสเป็นอัมพาต มากกว่าคนปกติ ถึง 3- 17 เท่า แล้วแต่อายุ และความรุนแรง ของความดันโลหิต
โรคเบาหวาน ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานเป็นเวลานาน ๆโดยมิได้รับการรักษา หรือควบคุมระดับ น้ำตาลในเลือด ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ จะมีอัตราเสี่ยง ในการเกิดอัมพาต ชนิดหลอดเลือดตีบได้สูง เพราะโรคเบาหวาน ทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดแข็ง ได้ง่าย โดยจะมีหลอดเลือดแข็งทั่วร่างกาย และถ้าเป็นที่หลอดเลือดของสมองแข็ง จะเกิดอัมพาตขึ้น อัตราการเสี่ยง ของผู้ป่วย ที่เป็นโรค เบาหวาน จะมีโอกาสเกิดอัมพาตได้สูงกว่าผู้ป่วยปกติถึง 2- 4 เท่า
ภาวะที่มีไขมันสูงในหลอดเลือด ทั้งชนิด chelesterol, triglyceride, ซึ่งเป็นไขมัน ที่ไปเกาะ ผนังหลอดเลือด และจะทำให้ผนังหลอดเลือด แข็ง อันจะมีผลตามมา ทำให้เกิดอัมพาตได้ง่าย
การสูบบุหรี่ การสูบบุหรี่นั้นจะเป็นปัจจัยเสริมทำให้ผู้ป่วยเกิดอัมพาตได้ง่าย โดยที่ผู้สูบบุหรี่ จะมีโอกาสเป็นอัมพาต ได้มากกว่าผู้ที่ไม่สูบถึง 3 เท่า
อื่น ๆ ปัจจัยอื่นที่จะส่งเสริมให้เป็นอัมพาตได้แก่
Obesity หรือความอ้วนโรคอ้วนเป็นปัจจัยที่ส่งเสริม ให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง และทำให้ผู้ป่วย มีไขมัน ในหลอดเลือดสูง อันจะมีโอกาสเกิด อัมพาต ได้มากกว่าคนธรรมดา
ภาวะเครียด การที่ผู้ป่วยเครียดมากเกินไปจะยังผลให้เกิดความดันโลหิตสูงมากกว่าคนปกติ และจะทำให้เกิดอัมพาตตามมาได้
ภาวะขาดการออกกำลังกาย การที่ไม่ยอมออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จะเป็นปัจจัย ทำให้ผู้ป่วยอ้วน และเกิดภาวะเครียด ซึ่งจะเป็นปัจจัยเสริม ต่อการเกิดอัมพาต ยิ่งกว่านั้น ยังพบว่า การออกกำลังกาย ของร่างกาย อย่างสม่ำเสมอ อาจมีผล ให้ลดระดับของไขมัน ที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย และเพิ่มไขมัน ที่มีประโยชน์ กล่าวคือ ทำให้หลอดเลือดไม่แข็งตัว ได้อีกด้วยท่านที่ทราบว่าตนเองมีปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เหล่านี้อยู่ สมควรที่จะเร่งหลีกเลี่ยง และรักษา เสียแต่เนิ่น ๆ และอย่างต่อเนื่องเพื่อท่านจะได้ปราศจาก อัมพาต และมีกำลังที่จะต่อสู้ชีวิตในยุคเศรษฐกิจตกต่ำ หากท่านไม่แน่ใจ ขอให้สละเวลาพบแพทย์เพื่อปรึกษาและตรวจสุขภาพเสียให้แน่ชัด เพื่อประหยัด และมั่นใจว่าจะไม่เจ็บป่วยด้วยโรคนี้ศึกษาน้ำมันปลา
วันศุกร์, มกราคม ๐๕, ๒๕๕๐
อัมพาต จากโรคของหลอดเลือดสมอง
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น