ในบ้านเราเพิ่มพูนขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากชาที่ใช้ชง น้ำชาบรรจุขวด บรรจุกล่องจากหลากหลายผู้ผลิตแล้วยังมีผลิตภัณฑ์ต่างๆที่นำชาเขียวไปเป็นส่วนผสมทั้งในผลิตภัณฑ์อาหารผลิตภัณฑ์ความงามและสุขภาพไม่เว้นแม้แต่ผลิตภัณฑ์เพื่ออนามัยส่วนตัวของคุณผู้หญิง การใช้ชาเขียวในผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายเช่นนี้อาจจะทำให้บางคนสนใจอยากรู้จักชาเขียว เพิ่มขึ้น บทความนี้จะบอกเราว่าเครื่องดื่มสีเขียวจาง กลิ่นหอม รสชาติละมุนลิ้นชนิดนี้มีความน่าสนใจสมกับที่ได้รับความนิยมสักเพียงใด
พันธ์ไม้ชา...Camellia sinensis ไม่ว่าชาจะมีต้นกำเนิดมาจากที่ใดก็ตามทุกแหล่งต่างก็เห็นพ้องต้องกันว่าชาที่คนทั่วโลกชื่นชอบกันนั้น ผลิตมาจากพืชที่มีชื่อไพเราะเพราะพริ้งว่า“คาเมลเลีย ไซเนนซิส” (Camellia sinensis) ซึ่งเป็นพืชพันธ์พื้นเมืองที่มีต้นกำเนิดในทิเบต อินเดีย จีน และพม่าคาเมลเลีย ไซเนนซิส เป็นไม้ดอกที่อยู่ในวงศ์เทียซิอี(Theaceae) ที่มีจำนวนทั้งสิ้น 28 สกุล และแบ่งออกเป็น520 ชนิด คาเมลเลีย ไซเนนซิส หรือที่เราเรียกกันติดปากว่า “ต้นชา” (Tea Plant) นั้นเป็นต้นไม้ที่คงความเขียวอยู่ตลอดปี และถ้าไม่มีการเก็บเกี่ยวสามารถสูงได้ถึง 10 เมตร อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ได้ชาที่มีคุณภาพดี จะมีการเก็บเกี่ยวยอดและใบอ่อนสองใบของต้นชาซึ่งการเด็ดปลายยอดอ่อนนั้นส่งผลให้ต้นชามีใบดกหนาและสูงเพียงประมาณ 90-120 เซนติเมตร โดยปกติแล้วการเก็บเกี่ยวจะเริ่มเมื่อต้นชามีอายุได้สี่ปี เมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยวจะมีการเก็บเกี่ยวใบชาด้วยมือทุกๆ สองสัปดาห์ และในแต่ละปี ต้นชาแต่ละต้นสามารถผลิตใบชาได้ 100 กรัม และสามารถผลิตอีกได้เรื่อยๆจนถึงอายุ 25-50 ปี หรือแม้จนกระทั่งถึง 100 ปี ถ้าได้รับการบำรุง ดูแลใส่ปุ๋ยเป็นอย่างดี การเพาะพันธุ์ชาทำได้โดยการผสมข้ามต้น ทั้งนี้เพราะต้นชาไม่สามารถผสมเกสรในตัวของมันเองได้ การผสมพันธุ์จะสำเร็จได้ต้องอาศัยสิ่งมีชีวิต เช่น แมลง เป็นพาหะในการนำพาเกสร
ชามีกี่ชนิด ?
ชานั้นแบ่งออกได้เป็นชนิดหลักๆ สามชนิดคือ ชาดำ (black tea) ชาอูหลง (oolong) และชาเขียว(green tea) ชาทุกชนิดต่างก็ได้มาจากใบของพืชชนิดเดียวกัน แต่ที่เรียกชื่อแตกต่างกันนั้นก็เนื่องมาจากกระบวนการผลิต (การหมัก) ใบชาที่แตกต่าง กันไปการผลิตชาดำ ทำได้โดยการนำใบชามาทำให้แห้ง โดยการรีดน้ำที่หล่อเลี้ยงให้ใบชาชุ่มชื้นออกมา เพื่อทำให้ใบชาเหี่ยวและอ่อนลีบโดยใช้ระยะเวลาทั้งสิ้น 16 ชั่วโมง หลังจากนั้นจึงนำใบชาที่แห้งลีบแล้วนั้นมา กลิ้งด้วยลูกกลิ้ง บด และฉีกต่อจากนั้นจึงนำไปหมัก ซึ่งหลังจากกระบวนการหมักทั้งสิ้นแล้วจะได้ใบชาที่แห้งสนิท
การผลิตชาอูหลง ผ่านกระบวนการผลิตด้วย การหมักแต่เพียงครึ่งหนึ่ง จึงทำให้มีรสชาติและสรรพคุณอยู่ระหว่างชาดำและชาเขียว กระบวนการผลิตชาอูหลงเริ่มจากนำใบชามาทำให้แห้งลีบ โดยใช้เวลาทั้งสิ้น 6 ชั่วโมง หลังจากนั้นจึงนำไปกลิ้งด้วยลูกกลิ้งฉีกและหมักด้วยระยะเวลาสั้นๆ ชาอู่หลงเริ่มผลิตเป็นครั้งแรก ในภาคตะวันออกของประเทศจีนและทางภาคเหนือของไต้หวัน
การผลิตชาเขียว ทำโดยนำใบชามาอบไอน้ำ หลังจากนั้นจึงนำไปกลิ้งด้วยลูกกลิ้งและทำให้แห้งอย่างรวดเร็ว ด้วยวิธีการดังกล่าวนี้จึงทำให้ใบชายังคงมีสีเขียวจากกระบวนการผลิตง่ายและน้อยขั้นตอนทำให้ชาเขียวยังคงมีสารในพืชที่มีประโยชน์ ที่เรียกว่า ไฟโตเคมิคัล(phytochemicals) หลงเหลืออยู่มากกว่าชาชนิดอื่นๆอย่างไรก็ตามโลกของชาไม่ได้มีเพียงแค่ชา ดำชาอูหลง หรือชาเขียวเท่านั้น ยังมีชาอีกชนิดหนึ่งที่ยังคงเป็นที่รู้จักกันน้อยมาก แต่กำลังได้รับความสนใจไป ทั่วโลก ไม่แพ้ชาประเภทอื่น นั่นก็คือ ชาขาว (whitetea) ชาขาวไม่ได้หมายถึงชาใส่นมที่หลายๆ คนชื่นชอบแต่ที่ชื่อว่าชาขาวก็เพราะว่าลักษณะพิเศษของชาชนิดนี้ที่ใบชาและยอดอ่อนถูกนำมาอบไอน้ำ และทำให้แห้งด้วยวิธีง่ายๆ ชาขาวได้มาจากต้นชาเช่นเดียวกัน มีลักษณะใกล้เคียงกับชาเขียว แต่ชาขาวมีปริมาณไม่มากนักเนื่องจากในแต่ละปีจะสามารถเก็บเกี่ยวได้เฉพาะในบางวันเท่านั้น และช่วงเวลาการเก็บเกี่ยวในแต่ละครั้งก็สั้นมากและต้องทำอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่ยอดอ่อนของต้นชาเพิ่งจะผลิออกมาใหม่ และยังคงมีเส้นไหมหรือเส้นขนละเอียดสีเงินปกคลุมอยู่การเก็บเกี่ยวโดยเลือกเอาแต่เฉพาะยอดอ่อนที่ยังเต็มไปด้วยขนสีขาวปกคลุมนี่เอง ทำให้ได้ชาที่มีลักษณะพิเศษคือมีสีขาว ซึ่งเป็นที่มาของชื่อชาขาวนั่นเอง
สารประกอบและสรรพคุณ ของชาเขียวจากการศึกษาและรายงานทางการแพทย์มากมาย โดยสถาบันที่เชื่อถือได้ต่างก็ยืนยันว่าชาเขียวมีสรรพคุณมหาศาลในการบำบัดรักษาโรค การดื่มชาเขียวทำให้ร่างกายได้รับสารหลายชนิดที่ให้คุณประโยชน์ต่อร่างกาย เปรียบเทียบกับชาดำและชาอูหลงแล้ว ชาเขียวมีสาร แคเทชิน (Catechin) ซึ่งเป็นสารในกลุ่มพอลิฟินอลล์ (polyphenols) เป็นปริมาณสูงถึง 15-30 %ของน้ำหนักชา ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่ ต่างเห็นพ้องต้องกันว่าสารแคเทชินในชาเขียวมีสรรพคุณเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ โดยทำให้กลุ่มอนุมูลอิสระที่ทำลายเซลล์ดีหรือ ปกติในร่างกายมีฤทธิ์เป็นกลาง ซึ่งจะว่าไปแล้วสารชนิดนี้นี่เองที่ให้ประโยชน์มากมายแก่ร่างกายจนนับไม่ ถ้วน
กล่าวโดยสรุปแล้ว ในแต่ละถ้วยของชาเขียวนั้นยังอุดมไปด้วยคุณประโยชน์มากมายต่อร่างกายดังต่อไปนี้
สดชื่น...แจ่มใส !!!
เอาตั้งแต่เริ่มแรกกันเลย ชาช่วยทำให้สิ่งแวดล้อมรอบตัวเราสดชื่น สะอาดปลอดโปร่งและน่าอยู่ขึ้นมีงานวิจัยชิ้นใหม่ชี้ว่า ถุงชา (tea bag) ช่วยบำบัดโรค“sick-house syndrome” หรือ “มลภาวะภายในอาคารเป็นพิษ” (Indoor Air Pollution) ซึ่งเป็นอาการป่วยที่มีสาเหตุมาจากการแพ้อากาศภายในอาคารและบ้านพักอาศัย เช่น สารเคมีจากสีทาบ้าน หรือจากเฟอร์ -นิเจอร์ต่างๆ ภายในบ้าน เนื่องจากสารฟอร์มัลดีไฮด์(formaldehyde) ที่ผสมอยู่ในสารเคมี เพื่อการตกแต่งบ้าน มักจะส่งกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ อาจเป็นสาเหตุทำให้ร่างกายเกิดอาการแพ้และมีปัญหาสุขภาพอื่นๆ จากการทดลองพบว่าใบชาดำหรือชาเขียว ทั้งที่ยังใหม่และที่ใช้แล้ว (ผ่านการชงแล้ว) จะดูดสารนี้ไว้แล้วไม่ปลดปล่อยสารกลับเข้าสู่บรรยากาศหลังจากดูดไว้แล้ว และถ้าทิ้งใบชาไว้ในที่อับหรือปิด เช่น ในตู้เก็บถ้วยชามใบชาจะช่วยลดปริมาณของสารฟอร์มัลดีไฮด์ที่มีอยู่ในอากาศอีกด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น