วันเสาร์, ธันวาคม ๑๖, ๒๕๔๙

เคล็ดลับดู​แลสุขภาพตามวัย

เชื่อไหมคะว่า​ ​การเลือกทานอาหาร​ให้​เหมาะ​กับ​ช่วงอายุของวัย​ ​จะ​ทำ​ให้​คุณดู​เอ๊าะกว่าจริง​ได้​อย่างน้อย​ 5-10 ​ปี​ ​แถม​ยัง​มีสุขภาพแข็งแรงขึ้นชนิดผิดหูผิดตา​ด้วย​!! ​เพราะ​แต่ละวัยก็มี​ความ​ต้อง​การของร่างกายแตกต่าง​กัน​ไป​ ​ใส่​ใจสักนิด​ ​คิดก่อนทานสักหน่อย​ ​รับรอง​ได้​เลยค่ะว่า​ ​ความ​สาว​ความ​สวย​จะ​อยู่​คู่​กับ​คุณไปอีกนาน​!!

วัยนำ​หน้า​เลข​ 2

จะ​เป็น​หนุ่ม​เป็น​สาวเต็มวัย​ ​และ​ร่างกายมีพัฒนาการเติบโตเต็มที่​ ​จึง​มีพลังงานอย่างเหลือล้น​ ​เป็น​วัยที่กระฉับ​ ​กระ​เฉง​ ​เคลื่อนไหว​และ​ทำ​กิจกรรมเยอะ​ ​ทำ​ให้​ร่างกาย​ได้​เผาผลาญ​และ​ใช้​พลังงานมากกว่าวัย​อื่นๆ​ ​คนอายุ​ 20 ​อัพ​ ​ควรทานอาหารหลากหลาย​ให้​เกิด​ความ​สมดุล​ ​อาหารสุขภาพที่​เหมาะสม​กับ​คนวัยนี้​ ​คืออาหารประ​เภทเนื้อสัตว์​และ​ถั่วต่างๆ​ ​ซึ่ง​ให้​โปรตีนสูง​ ​รองมาก็​เป็น​ข้าว​และ​แป้ง​ ​เน้นการเสริมสร้างพลังงาน​ ​ตามมา​ด้วย​ผักผลไม้​ ​และ​นม​กับ​แคลเซียม​.

วัยนำ​หน้า​เลข​ 3

เป็น​วัยที่​ยัง​ต้อง​การพลังงาน​อยู่​มาก​ ​เพราะ​เป็น​ช่วงของการทำ​งานตั้งเนื้อตั้งตัว​ ​แต่​ด้วย​อายุที่มากขึ้น​ ​ทำ​ให้​ประสิทธิภาพ​ใน​การเบิร์นของร่างกายช้าลง​ ​และ​น้ำ​หนักขึ้นลงง่าย​ ​คนวัยนี้​จึง​จำ​เป็น​ต้อง​ระมัดระวังเรื่องไขมัน​และ​คอเลสเทอรอล​เป็น​พิ​เศษ​ ​พยายามเลือกทานอาหารที่ย่อยง่ายขึ้น​ ​โดย​เฉพาะ​ ​ปลาทะ​เล​ ​ซึ่ง​ช่วย​ลด​ความ​ดันโลหิต​ ​รวม​ถึง​พวกถั่วเมล็ดแห้ง​ ​อย่างถั่วแดง​, ​ถั่วเขียว​ ​และ​ถั่วเหลือง​ ​ช่วย​ลด​ความ​เสี่ยง​จาก​โรคหัวใจ​ ​แถม​ยัง​มี​โปรตีนสูง​ ​ช่วย​ให้​พลังงานทดแทนเนื้อสัตว์​ใหญ่​ ​ส่วน​อาหารจำ​พวกข้าว​และ​ธัญพืช​ไม่​ขัดสี​ ​ก็มี​เส้นใยสูง​ ​ช่วย​ให้​อิ่มทน​ ​และ​ส่งผลดีต่อลำ​ไส้​ ​แต่​ถ้า​ไม่​อยากพะ​โล้ดู​แก่​ ​เกินวัย​ ​ควรหลีกเลี่ยงการทานอาหารที่มี​ไขมัน​และ​คอเลสเทอรอลสูง​ ​เช่น​ ​หมูสามชั้น​, ​เนย​ ​และ​กะทิ​.

วัยนำ​หน้า​เลข​ 4

เป็น​วัยที่ร่างกายเริ่มเปลี่ยนแปลงอย่างเห็น​ได้​ชัด​ ​ผู้​หญิงอาจเผชิญ​กับ​ปัญหาวัยทอง​ใน​ระยะนี้​ ​ใน​ช่วงวัยนี้​ความ​ต้อง​การพลังงาน​จะ​ลดลงมาก​ ​แต่​ต้อง​การแคลเซียม​ ​และ​วิตามิน​จาก​ผักผลไม้ที่มีกากใยอาหารสูงมากขึ้น​ ​เพื่อป้อง​กัน​ปัญหากระดูก​ ​คนวัยนี้ควรทานอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ​ ​ซึ่ง​เป็น​สา​เหตุของ​ความ​เสื่อมวัย​ ​ไม่​ว่า​จะ​เป็น​ ​อาหารที่มีวิตามินซีมาก​ ​อย่าง​ ​ส้ม​, ​ฝรั่ง​, ​มะ​เขือเทศ​ ​และ​แคนตาลูป​ ​หรือ​จะ​เป็น​อาหารที่มีวิตามินอีสูง​ ​เช่น​ ​น้ำ​มันดอกทานตะวัน​, ​เมล็ดดอกทานตะวัน​, ​เนยถั่ว​, ​ถั่วลิสง​ ​และ​อัลมอนด์​ ​ขณะที่​เต้าหู้ถือ​เป็น​แหล่งโปรตีนสำ​คัญของคนวัยเลข​ 4 ​เพราะ​มี​ไขมันต่ำ​ ​และ​ให้​แคลเซียมมากกว่า​เนื้อสัตว์​ทั่ว​ไป​ ​อยาก​ให้​ท่องจำ​ไว้​ใน​ใจเลยค่ะว่า​ ​การเลิกทานอาหารไขมันสูง​ ​อาหารทอด​ ​และ​ของผัดๆ​มันๆ​ทุกชนิด​ ​รวม​ถึง​เครื่องดื่มแอลกอฮอล์​และ​คา​เฟอีน​ ​จะ​ช่วย​ให้​คุณดู​เอ๊าะขึ้นอีกหลายปี​!!

วัยนำ​หน้า​เลข​ 5

เลข​ 5 ​ที่​เข้า​มาย่ำ​กรายชีวิต​ ​ไม่​ได้​ส่งผลกระทบเฉพาะต่อร่างกาย​เท่า​นั้น​นะคะ​ ​แต่​ยัง​ลุกลามไป​ถึง​เรื่องจิตใจ​ด้วย​ ​คนวัยนี้​ต้อง​เตรียมรับมือ​กับ​ความ​เปลี่ยนแปลงของตัวเอง​ ​ด้วย​การทำ​ความ​เข้า​ใจสภาพร่างกายที่​ไม่​เหมือนเดิม​... ​ประสิทธิภาพการทำ​งานของร่างกาย​จะ​ลดลง​ ​ส่งผลต่อระบบการย่อย​และ​การดูดซึมอาหาร​ ​ทำ​ให้​ร่างกายขาดสารอาหารบางอย่าง​โดย​ไม่​รู้ตัว​ ​สิ่งสำ​คัญที่สุดของคนวัยนี้คือ​ ​การดื่มน้ำ​มากๆ​ให้​สม่ำ​เสมอ​ ​วันละอย่างน้อย​ 8-12 ​แก้ว​ ​เพื่อป้อง​กัน​การขาดน้ำ​ ​และ​ควรทานอาหารประ​เภทคาร์​โบไฮเดรต​ให้​น้อยลง​ ​หรือ​ทานเฉพาะ​แป้งที่​ไม่​ขัดสี​ ​งดการทานเนื้อสัตว์​ใหญ่​ ​ซึ่ง​ย่อยยาก​ ​และ​หันมาทานปลา​แทน​ ​นอก​จาก​นี้​ ​ควรทานอาหารที่มี​แคลเซียมสูง​ ​เช่น​ ​นม​, ​โยเกิร์ต​, ​เนยแข็ง​ ​หรือ​ปลาตัว​เล็ก​ตัวน้อย​ ​และ​พวกผักใบเขียว​ ​โดย​เฉพาะคะน้า​ ​กวางตุ้ง​ ​และ​บ็อคโคลี่​ ​ช่วย​ลดปัญหากระดูกพรุน​ ​คนวัย​ 50 ​อัพ​ ​ยัง​ออกกำ​ลังกาย​ได้​สม่ำ​เสมอ​ ​แต่​ไม่​ควรหักโหมมาก​ ​เน้นเฉพาะประ​เภทที่​ช่วย​ให้​กล้ามเนื้อ​และ​กระดูกแข็งแรง​ ​รวม​ทั้ง​ช่วย​กระตุ้นการไหลเวียนของเลือด​ให้​ทำ​งาน​ได้​ดีขึ้น​.

วันเสาร์, ธันวาคม ๐๙, ๒๕๔๙

ครึ่งหนึ่งของโรคมะเร็งป้องกันได้

ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาระหว่างวันที่ 4-8 ธันวาคม มีการประชุมเชิงปฏิบัติการ “การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในสาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา” ที่โรงพยาบาลศิริราช มีข้อมูลใหม่ๆเกี่ยวกับโรคมะเร็งที่น่าจะนำมาเล่าสู่กันฟัง

นพ.ปีเตอร์ บอยล์ ตัวแทนองค์การวิจัยมะเร็งระหว่างประเทศ (International Agency for Research on Cancer : IARC) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ให้การสนับสนุนการทำวิจัยโรคมะเร็งกับทั่วโลก กล่าวว่า โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการตายอันดับต้นๆ ของประชากรโลก และผู้ป่วยมีแนวโน้มมากขึ้นเรื่อยๆ พบผู้ป่วยมากในประเทศกำลังพัฒนา จากเมื่อ 40 ปีที่แล้ว มักพบผู้ป่วยมะเร็งในประเทศที่พัฒนาแล้ว

จากข้อมูลพบว่าประชากรโลกในปี 2548 มีประมาณ 6,454 ล้านคน มีผู้ป่วยโรคมะเร็งรายใหม่ประมาณ 11 ล้านคน/ปี เสียชีวิต 7 ล้านคน/ปี และอีก 25 ล้านคน ต้องใช้ชีวิตอยู่กับโรคมะเร็ง ส่วนในปี 2573 หรืออีก 25 ปี คาดว่าจะมีประชากรโลกประมาณ 8,130 ล้านคน และจะมีผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งรายใหม่ประมาณ 27 ล้านคน/ปี เสียชีวิต 17 ล้านคน/ปี และอีก 75 ล้านคน ต้องใช้ชีวิตอยู่กับโรคมะเร็ง ซึ่งสาเหตุที่มีผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งมากขึ้น เกิดจากการเพิ่มขึ้นของประชากรโลก และโลกกำลังเข้าสู่ยุคผู้สูงวัย ปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งในประเทศที่กำลังพัฒนามีมากขึ้น โดยเฉพาะสารก่อมะเร็งจากการพัฒนาอุตสาหกรรมการบริโภค รวมทั้งการขาดความรู้ในการป้องกันโรค การดูแลสุขภาพตนเอง

นพ.ปีเตอร์กล่าวว่า การรักษาหรือบรรเทาอาการมะเร็งด้วยการฉายรังสี ช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น บางรายอาจจะหายขาด แต่เครื่องมือและบุคลากรด้านนี้ยังไม่เพียงพอกับจำนวนผู้ป่วย โดยเฉพาะในประเทศที่กำลังพัฒนา

เขาบอกด้วยว่า วิทยาการทางการแพทย์ในปัจจุบันก้าวไปถึงขั้นรู้แนวทางในการป้องกันโรคมะเร็ง ซึ่งกว่าครึ่งหนึ่งของโรคมะเร็งสามารถป้องกันได้ มะเร็งบางชนิดรักษาให้หายขาดได้ บางชนิดแม้จะไม่หายขาด แต่ก็สามารถรักษาแบบประคับประคองอาการ โดยทำให้ ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม จนถึงปัจจุบันยังไม่ปรากฏว่า โรคมะเร็งสามารถรักษาด้วยเซลล์ต้นกำเนิด หรือสเตมเซลล์ และไม่มีหลักฐานว่า สเตมเซลล์ทำให้เป็นมะเร็ง เนื่องจากปัจจุบันมีผู้ป่วยที่รับการรักษาด้วยสเตมเซลล์จำนวนน้อย.

วันเสาร์, ธันวาคม ๐๒, ๒๕๔๙

วิตามินซี

วิตามินซี เป็นสารอาหารที่สำคัญต่อร่างกายอีกชนิดหนึ่ง ที่ช่วยปกป้องเซลล์และสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายแข็งแรง แถมยังช่วยเยียวยาร่างกายจากการบาดเจ็บ ช่วยให้ร่างกายต่อต้านการอักเสบได้ ป้องกันเลือดออกตามไรฟัน อันนี้ก็ได้ยินมาตั้งแต่เด็กเลย

โดยทั่วไปแล้ววิตามินซีพบได้ในอาหารจำพวกผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว ส้มสุกลูกไม้ต่างๆ ยิ่งในยุคสมัยใหม่อย่างนี้ก็มีผู้ผลิตนำมาอัดเม็ด เป็นอาหารเสริมจำหน่ายกันมากมายในปริมาณต่างๆ กันไป

นอกจากที่ว่าคนทั่วไปต้อง การวิตามินซีแล้ว คนบางกลุ่มที่อาจจะมีสุขภาพไม่ค่อยดี หรือมีความจำเป็นต้องได้รับอาหารเสริมวิตามินซีเพิ่มขึ้นมากกว่าคนทั่วไปก็มีเช่นกัน

หอสมุดแห่งชาติด้านการแพทย์ ในสหรัฐฯ ระบุว่า มีกลุ่มคนบางกลุ่ม ที่มีความจำเป็นต้องได้รับวิตามินซีเพิ่มขึ้น โดยสามารถจัดแบ่งเป็นกลุ่มได้ดังนี้

- กลุ่มคนที่สูบบุหรี่

- กลุ่มคนที่เตรียมตัวผ่าตัด หรือเพิ่งฟื้นตัวจากการผ่าตัด

- ผู้ป่วยที่มีไตเทียม

- คนที่โดนกระทบอากาศเย็นเป็นเวลานาน

คุณอยู่ในกลุ่มคนเหล่านี้หรือเปล่า แต่ถึงจะไม่อยู่ในประเภทนั้นก็อย่าลืมหาอาหารที่มีวิตามินซี เป็นส่วนประกอบมากินอย่างสม่ำเสมอก็จะเป็นการดีต่อสุขภาพไม่น้อย เพราะข้อ มูลด้านสุขภาพแจ้งว่ามันยังช่วยบรรเทาความรุนแรง และระยะเวลาของการเป็นโรคหวัดได้ด้วย.

วันอังคาร, พฤศจิกายน ๒๑, ๒๕๔๙

โรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน​เป็น​โรคที่​ผู้​คน​ส่วน​ใหญ่​รู้จัก​กัน​พอควร​ ​แต่​ผู้​ป่วย​ส่วน​ใหญ่​ยัง​ไม่​ทราบ​ ​ความ​สำ​คัญของการรักษา​โรคนี้นัก​ ​แพทย์​เองก็​ไม่​ได้​ให้​ความ​สำ​คัญ​กับ​การรักษา​ ​ผู้​ป่วยเบาหวาน​เป็น​อย่างดี​ ​แพทย์หลายๆ​ท่านรักษา​เบาหวาน​ ​เฉพาะ​เพียงลดระดับ​ ​น้ำ​ตาล​ใน​เลือด​เท่า​นั้น​ แต่​ความ​จริง​แล้ว​ ​โรคเบาหวาน​ ​ไม่​ใช่​แค่ระดับน้ำ​ตาล​ใน​เลือดสูง​ ​เท่า​นั้น​ ​แต่​เป็น​โรคร้าย​ ​ที่หาก​ไม่​ได้​รับดู​แลอย่างดี​แล้ว​ ​จะ​เกิดผลเสียตามมามากมาย​ ..... ​หมอโรคหัวใจ​ ​และ​ ​หมอโรคไต​ ​ทราบดี​ ​เพราะ​ผู้​ป่วยโรคหัวใจ​ ​และ​ ​ไตวายเรื้อรัง​ส่วน​ใหญ่​ ​เป็น​เบาหวาน

โรคเบาหวาน​เป็น​ความ​ผิดปกติ​เนื่อง​จาก​ร่างกาย​ไม่​สามารถ​นำ​น้ำ​ตาล​ใน​ร่างกายไป​ใช้​ได้​อย่างเต็มที่​ ​สา​เหตุ​เนื่อง​จาก​ขาดฮอร์​โมน​ ​อินซูลิน​ ​หรือ​ ​ไม่​ขาดฮอร์​โมน​ ​แต่ร่างกาย​ไม่​ตอบสนองต่อ​ ​ฮอร์​โมนตัวนี้​ ​ผลที่ตามมาคือระดับน้ำ​ตาล​ใน​เลือดสูงกว่าปกติ​ ​ปัจจุบัน​ ​หากระดับน้ำ​ตาล​ ​ใน​เลือดที่​เจาะหลังงดอาหาร​ 6 ​ชั่วโมง​แล้ว​ ​ยัง​สูงกว่า​ 126 ​มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร​ ​เราก็​เรียก​ได้​ว่า​เป็น​ "​โรคเบาหวาน" ​ได้​แล้ว​ครับ​

​ระดับน้ำ​ตาลที่สูงนี้​เป็น​ตัวการสำ​คัญที่ทำ​ให้​เกิดปัญหา​ ​ต่างๆ​ตามมา​ ที่สำ​คัญคือ​เป็น​ตัว​ ​การเร่ง​ให้​เกิดการเสื่อมของหลอดเลือดแดง​ทั่ว​ร่างกาย ​ทั้ง​หลอดเลือดแดงที่​เลี้ยง​ ​สมอง​ ​หัวใจ​ ​ตา​ ​ไต​ ​แขน​-​ขา​ ​รวม​ทั้ง​ ​หลอดเลือดแดง​เล็กๆ​ที่​เลี้ยง​ ​ปลายประสาทอีก​ด้วย​ ​ทำ​ให้​เกิดการตีบตันของหลอดเลือดแดงเหล่านี้​ ​ดัง​นั้น​จะ​เห็นว่า​ "​โรคเบาหวาน" ​เป็น​ปัจจัยเสี่ยงที่สำ​คัญต่อ​ ​โรคทางสมอง​ ​อัมพาต​ ​โรคระบบประสาท​ ​โรคหัวใจ​ ​โรคไต​ ​โรคตา​ ​แม้กระทั่งโรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ​ ​หรือ​ ED ​ด้วย​

หลักสำ​คัญ​ใน​การรักษา​ผู้​ป่วยเบาหวาน​ ที่​ผู้​ป่วยควรทราบ

* ควบคุมระดับน้ำ​ตาล​ใน​เลือด​ให้​อยู่​ใน​เกณฑ์ปกติ​ให้​มากที่สุดตลอดเวลา​ ​การที่​จะ​ ​ทำ​เช่น​นั้น​ได้​ ​ต้อง​อาศัย​ความ​ร่วมมืออย่างมาก​จาก​ผู้​ป่วย​ ​ญาติ​ผู้​ป่วย​ (ประ​เภทหวังดี​ ​ซื้อของมา​ให้​รับประทาน​ ​หรือ​ ​ให้​คำ​แนะนำ​ผิดๆ​) ​โดย​การควบคุมอาหารอย่างเคร่ง​ ​ครัด​ ​รับประทานยาตามสั่ง​ ​ออกกำ​ลังกายตามสมควร​ ​ลดน้ำ​หนัก​ ​หากยา​ไม่​ได้​ผลดีก็​ ​จำ​เป็น​ต้อง​ฉีดอินซูลิน
* หากมี​ความ​ดันโลหิตสูงก็จำ​เป็น​ที่​จะ​ต้อง​ลด​ความ​ดันโลหิต​ให้​น้อยกว่า​ ​หรือ​ ​ใกล้​เคียง​ 130/80 ​มม​.​ปรอท​ ​ทั้ง​นี้​ต้อง​ไม่​มีผลแทรกซ้อน​จาก​ยาลด​ความ​ดันโลหิต​ด้วย​ ​จะ​สามารถ​ ​ป้อง​กัน​ ​หรือ​ ​ชลอภาวะ​ไตวาย​ได้
* ลดไขมันคอเลสเตอรอล​ใน​เลือดลงมากๆ​ ​โดย​ใช้​ค่า​ LDL-Cholesterol ​เป็น​เกณฑ์​ ​ให้​ LDL-C ​น้อยกว่า​ 100 ​มก​./​ดล​. ​เทียบ​เท่า​ผู้​ที่มี​โรคหัวใจ​อยู่​ ​เนื่อง​จาก​ผู้​ป่วย​ ​เบาหวานแทบทุกรายมีการตีบตันของหลอดเลือดหัวใจซ่อน​อยู่​ด้วย​ ​การลดระดับ​ ​ไขมัน​ใน​เลือดลงมากๆ​ (Cholesterol) ​จะ​ช่วย​ลดปัญหา​แทรกซ้อนทางหัวใจลง​ ​ปัจจุบันยาที่​ใช้​ลดไขมันคอเลสเตอรอล​ได้​ดีมากที่สุด​ ​คือ​ ​ยากลุ่ม​ statins
* แนะนำ​ให้​ผู้​ป่วยพบจักษุ​แพทย์ทุก​ 6 ​เดือน​ ​เพื่อป้อง​กัน​ตาบอด​จาก​เบาหวานขึ้นตา​ ​จอประสาทตา​เสื่อม
* แนะนำ​ให้​ผู้​ป่วยดู​แลตนเองที่บ้าน​ ​อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง​ ​การดู​แลเท้า​ ​ผิวหนัง​ (โอกาสเกิดแผลที่​เท้า​ ​และ​ ​ทำ​ให้​ต้อง​ตัดเท้าพบ​ได้​บ่อยๆ​)

จะ​เห็นว่า​ ​การรักษา​โรคเบาหวาน​ ​ไม่​ใช่​แค่การไปเจาะ​เลือด​ ​ดูน้ำ​ตาล​ใน​เลือด​ ​แล้ว​จัด​ ​ยา​เฉยๆ​ ​แต่การรักษา​เบาหวานที่​ได้​มาตรฐาน​ ​จะ​เป็น​การดู​แล​ผู้​ป่วยทุกระบบ​ ​โดย​หวัง​ ​ว่าการดู​แลอย่างดี​ ​จะ​ช่วย​ป้อง​กัน​ผลแทรกซ้อนที่ร้ายแรง​จาก​เบาหวาน​ได้​ ​เช่น​ ​อัมพาต​ ​ไตวาย​ ​ตาบอด​ ​กล้ามเนื้อหัวใจตาย​ ​เป็น​ต้น​ การรักษา​เบาหวาน​ให้​ดี​ ​จึง​ไม่​ใช่​เรื่อง​ "หมูๆ​" ​หรือ​ "หวานๆ​" ​อย่างที่คิด

Vitamin E

คาดว่า​แทบทุกท่านคงเคย​ได้​ยินโฆษณา​เกี่ยว​กับ​คุณสมบัติครอบจักรวาลของ​ Vitamin E ​กัน​มาบ้าง​แล้ว​ ​เช่น​ ​ป้อง​กัน​เซลเสื่อม​ ​ป้อง​กัน​ “​แก่​” ​ลบรอยเหี่ยวย่นบนใบหน้า​ ​บำ​รุงผิวพรรณ​ ​ต้านมะ​เร็ง​ ​ไปจน​ถึง​ป้อง​กัน​โรคหัวใจ​ ​บท​ความ​นี้​จะ​เน้นเกี่ยว​กับ​ผล​ ​ของการเสริม​ Vitamin E ​ใน​ผู้​ป่วยโรคหัวใจขาดเลือด

โรคหัวใจขาดเลือดเกิด​จาก​การที่มี​ไขมันคอเลสเตอรอลสะสม​อยู่​ใน​ผนังหลอดเลือด​ ​ความ​เป็น​จริง​แล้ว​การสะสมของ​ ​ไขมันนี้​ ​เกิด​จาก​หลายๆ​ ​ปัจจัยประกอบ​กัน​ ​แต่ปัจจัยหนึ่งที่สำ​คัญคือไขมันคอเลสเตอรอลชนิดร้าย​ ​หรือ​ LDL- Cholesterol ​ใน​ชั้น​ ​ผนังหลอดเลือด​ ​ทำ​ให้​หลอดเลือดตีบ​ ​ไขมันนี้ปกติ​อยู่​ใน​กระ​แสเลือด​ ​การที่​จะ​เข้า​ไปสะสม​อยู่​ ​ใน​ผนังหลอดเลือด​ได้​นั้น​ ไขมันชนิดนี้​ ​จะ​ถูกขบวนการ​ “​อ็อกซิ​เดชั่น​” ​ก่อน​ (Oxidation) ​จึง​เข้า​ไปสะสม​ได้​ Vitamin E ​มีคุณสมบัติ​เป็น​ตัวต้านขบวนการอ็อกซิ​เดชั่น​ (Anti-Oxidant) ​จึง​มี​ผู้​ศึกษาผลของ​ Vitamin E ​ใน​ผู้​ป่วยโรคหัวใจ​ ​โดย​ ​หวังว่าการเสริม​ Vitamin E ​จะ​ช่วย​ต้านการสะสมของ​ ​ไขมัน​ LDL-Cholesterol ​ใน​ผนังหลอดเลือด​ ​เป็น​ผลป้อง​กัน​ ​โรคหัวใจ​ ​หรือ​ ​ลด​ความ​รุนแรงของโรคลง​ ​สารที่มีคุณสมบัติ​เป็น​ Anti-Oxidant ​นอก​จาก​ Vitamin E ​แล้ว​ ​ยัง​มีสาร​อื่นๆ​อีก​ ​เช่น​ Vitamin C , Beta-carotene

Vitamin E ​ช่วย​ป้อง​กัน​โรคหัวใจ​หรือ​ไม่

ตามหลักการ​แล้ว​ก็น่า​จะ​เป็น​เช่น​นั้น​ ​แต่​ใน​โลกแห่ง​ความ​เป็น​จริง​แล้ว​ ​ร่างกายคนเราซับซ้อนเกินกว่าที่​จะ​เข้า​ใจง่ายๆ​ ​เช่น​นั้น​ 1+1 ​ไม่​ได้​เป็น​ 2 ​เสมอไป​ ​การศึกษา​เกี่ยว​กับ​ Vitamin E ​กับ​โรคหัวใจมีมานาน​แล้ว​ ​ใน​ระยะ​แรกๆ​พบว่า​ ​ผู้​ป่วยโรคหัวใจ​ส่วน​หนึ่งมีระดับ​ Vitamin E ​ต่ำ​กว่าปกติ​ ​และ​มีหลาย​ ​การศึกษาชี้​ให้​เห็นว่าการเสริม​ Vitamin E ​จะ​ช่วย​ป้อง​กัน​โรคหัวใจ​ ​แต่อย่างไรก็ตาม​ ​การศึกษา​ ​เหล่า​นั้น​เป็น​การศึกษาย้อนหลัง​ ​หรือ​ ​การศึกษา​เปรียบเทียบ​ ​ย้อนหลัง​ ซึ่ง​การศึกษาชนิดนี้มีข้อจำ​กัดมาก​ ​ทำ​ให้​ความ​น่า​ ​เชื่อถือลดลงมาก

​การศึกษาที่ดีกว่า​และ​ถือว่ายอบรับ​ได้​มากที่สุด​ ​คือ​ ​การศึกษา​เปรียบเทียบ​ ​ระหว่างผลของยาจริง​ ​กับ​ ​ยาหลอก​ ​โดย​การสุ่ม​ ​ผู้​ถูกศึกษา​ ​และ​ ​ผู้​ศึกษาต่างก็​ไม่​ทราบว่า​ได้​รับยาจริง​ ​หรือ​ ​ยาหลอกจนกว่า​จะ​เสร็จสิ้นการศึกษา​ ​เป็น​การ​ ​ตัดอคติ​จาก​การ​ ​ทดลองลง​ ​การศึกษา​แบบนี้​เรียก​ Randomized Double Blind Placebo Control

ปัจจุบันมีการศึกษา​แบบ​ Randomized Double Blind Placebo Control ​เพื่อดูผลของ​ Vitamin E ​ใน​ผู้​ป่วย​ ​โรคหัวใจ​ ​การศึกษา​ ​แรกมา​จาก​ Cambridge (ตีพิมพ์​ใน​ปีคศ​.1996) ​เป็น​การศึกษา​ใน​ผู้​ป่วยที่​เป็น​โรคหัวใจ​อยู่​แล้ว​ 2,002 ​คน​ ​ใน​จำ​นวนนี้​ 1,035 ​คน​ได้​รับ​ Vitamin E ​ขนาด​ 400-800 IU ​ต่อวัน​ ​และ​ 967 ​คน​ได้​รับยาหลอก​ ​ติดตาม​ผู้​ป่วยไปประมาณ​ 1 ​ปีครึ่ง​ พบว่า​ผู้​ที่​ได้​รับ​ Vitamin E ​เกิดกล้ามเนื้อหัวใจตาย​ ​หรือ​ Heart attack ​น้อยกว่ากลุ่มยาหลอกอย่างมาก​ ​ผลนี้​เริ่มเห็น​ได้​เมื่อ​ ​รับประทาน​ Vitamin E ​อย่างน้อย​ 1 ​ปี​ ​แต่อย่างไรก็ตามพบว่า​แม้​จะ​ลด​ Heart attack ​ลง​ ​แต่อัตราตาย​จาก​ ​โรคหัวใจ​ไม่​ได้​ลดลงเลย ​พูดง่ายๆ​คือ​ Vitamin E ​ใน​ผู้​ป่วยโรคหัวใจ​ไม่​ได้​ทำ​ให้​อายุยืนยาวขึ้นนั่นเอง​

​การศึกษาต่อมา​ ​เพิ่งลงพิมพ์​ใน​วารสาร​ New England Journal of Medicine ​มกราคม​ ​ปี​ 2000 ​ชื่อย่อๆ​ว่า​ HOPE Study ​ผู้​เข้า​การศึกษา​เป็น​ผู้​ที่มี​โรคของหลอดเลือด​อยู่​แล้ว​ ​เช่น​ ​หลอดเลือดหัวใจ​ ​หรือ​ ​หลอดเลือดสมอง​ ​(​ไม่​ใช่​คน​ ​แข็งแรงที่​ยัง​ไม่​มี​โรค) ​ประมาณ​ 9,541​คน​ ​ครึ่งหนึ่งไดรับ​ Vitamin E 400 IU ​ต่อวัน​ ​ส่วน​อีกครึ่งหนึ่ง​ได้​รับยาหลอก​ (placebo) ​เมื่อติดตามไปประมาณ​ 4.5 ​ปี​ ​พบว่าอัตราตาย​ ​อัตราการเกิดโรคหัวใจ​ (Heart attack) ​ไม่​แตกต่าง​กัน​เลย​ จึง​สรุปว่า​ Vitamin E ​ไม่​ได้​ประ​โยชน์​ใน​การป้อง​กัน​โอกาสเกิดปัญหา​แทรกซ้อน​จาก​ ​โรคหัวใจเลย ​เมื่อรวมเอาการศึกษา​เกี่ยว​กับ​ Vitamin E ​ทั้ง​หมด​เข้า​ด้วย​กัน​ ​รวมประชากรที่ศึกษามากกว่า​ 50,000 ​คน​ ​ก็​ไม่​พบว่า​ Vitamin E ​จะ​ได้​ประ​โยชน์​เลย​

ที่​เล่ามา​นั้น​เป็น​การศึกษา​ใน​ผู้​ป่วยที่​เกิดโรค​แล้ว​ ​ไม่​ใช่​เป็น​การ​ใช้​ Vitamin E ​เพื่อการป้อง​กัน​โรคหัวใจ​ ​จน​ถึง​ปัจจุบันนี้​ยัง​ไม่​มีการศึกษาดีๆ​เลยว่า​ Vitamin E ​จะ​ช่วย​ “​ป้อง​กัน​” ​ไม่​ให้​คนที่​แข็งแรงดี​เกิดโรค​ ​หัวใจขึ้น

วันเสาร์, ตุลาคม ๑๔, ๒๕๔๙

Giffarine Cosmetics Commercial


สนใจ ผลิตภัณฑ์ หรือ สมัครสมาชิกกิฟฟารีน โทร. 089-1350302,085-9042600

วันพฤหัสบดี, ตุลาคม ๐๕, ๒๕๔๙

การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ

ร่างกายคนเราจะเริ่มมีการเสื่อมของอวัยวะตั้งแต่อายุ 30 ปีขึ้นไป ดังนั้นการดูแลรักษาสุขภาพที่ดี และถูกสุขลักษณะตั้งแต่ต้นจะช่วยลดโอกาสการเกิดโรค หรือปัญหาทางสุขภาพที่มักเกิดขึ้นเมื่อย่างเข้าสู่วัยสูงอายุ

วัยสูงอายุ เป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด ทั้งทางด้านร่างกาย และจิตใจ สภาพร่างกายจะเห็นได้ว่าเสื่อมลงตามอายุขัย สภาพจิตใจมีการเปลี่ยนแปลงง่าย ขี้หงุดหงิด มีความวิตกกังวล เนื่องจากการเจ็บป่วย หรือจากการเสื่อมของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย โดยปกติร่างกายคนเราจะเริ่มมีการเสื่อมของอวัยวะตั้งแต่อายุ 30 ปีขึ้นไป ดังนั้นการดูแลรักษาสุขภาพที่ดี และถูกสุขลักษณะตั้งแต่ต้น จะช่วยลดโอกาสการเกิดโรคหรือปัญหาทางสุขภาพต่าง ๆ ที่มักเกิดขึ้นเมื่อย่างเข้าสู่วัยสูงอายุได้

การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย

ในผู้สูงอายุมักจะพบว่ามีความเสื่อมทางด้านระบบทางเดินอาหาร เนื่องมาจากปริมาณฟันที่มีน้อยลง ทำให้เคี้ยวอาหารได้ไม่ละเอียด ต่อมน้ำลายขับน้ำลายออกมาน้อย ไม่พอเพียงที่จะช่วยคลุกเคล้าอาหาร ประสาทกล้ามเนื้อที่ควบคุมการกลืนก็จะทำงานน้อยลง ทำให้กลืนอาหารได้ลำบาก นอกจากนี้ปริมาณน้ำย่อยต่าง ๆ ก็ลดลง ทำให้อาหารย่อยได้ไม่ดี มีอาการท้องอืด ตับและตับอ่อนเสื่อม นอกจานี้ระบบขับถ่ายอุจจาระในผู้สูงอายุมักจะเป็นไปตามปกติ เกิดท้องผูกได้ง่าย เนื่องจากมีการเคลื่อนไหวน้อยลง และไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย

การเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจ

อารมณ์และจิตใจที่มีการเปลี่ยนแปลงของผู้สูงอายุ อาจเกิดมาจากมีเวลาว่างมากเกินไป เพราะเกษียณอายุจากการทำงานแล้ว จึงรู้สึกว่าตัวเองถูกลดคุณค่าลง ความสัมพันธ์ระหว่างคนในครอบครัวเริ่มมีน้อยลง ซึ่งอาจทำให้รู้สึกโดดเดี่ยว และเศร้าซึม นอกจากนั้นยังอาจเป็นผลมาจากความเจ็บป่วย และการเสื่อมของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ทำให้ผู้สูงอายุมีอารมณ์ที่แปรปรวนง่าย ขี้หงุดหงิด ใจน้อย โกรธง่าย เป็นต้น

ปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุ

จากความเสื่อมทางด้านร่างกาย จิตใจ รวมถึงการดูแลสุขภาพที่อาจไม่เหมาะสม ทำให้ผู้สูงอายุมักเกิดปัญหาทางสุขภาพ หลาย ๆ โรคพร้อมกัน โรคที่มักพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ มีทั้งโรคที่เกิดขึ้นทางร่างกาย และจากปัญหาทางจิตใจ ได้แก่

1. โรคอ้วน
2. โรคเบาหวาน
3. โรคหัวใจขาดเลือด
4. โรคความดันโลหิตสูง
5. โรคไขมันในเลือดสูง
6. โรคข้อเสื่อม
7. โรคเกี่ยวกับทางเดินอาหาร เช่น ท้องอืด ท้องผูก
8. โรคทางประสาทตา เช่น โรคต้อหิน ต้อกระจก
9. โรคสมองเสื่อม โรคอัลไซเมอร์
10. อาการวิตกกังวล นอนไม่หลับ

โรคอ้วน เป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ โรคนี้มักนำมาซึ่งโรคอื่น ๆ หรืออาจเกิดขึ้นพร้อมกับโรคอื่น ๆ อีกหลายโรค อย่างไรก็ตามปัญหาอีกอย่างหนึ่งที่ไม่ควรมองข้าม ก็คือ ปัญหาทุพโภชนาการ (ขาดสารอาหาร) ในผู้สูงอายุ ซึ่งปัญหาดังกล่าวมีผลมาจากความเสื่อมทางด้านสรีระ โดยเฉพาะระบบการย่อย และดูดซึมอาหารของผู้สูงอายุเอง ภาวะการเปลี่ยนแปลงทางการดำรงชีวิต เช่น สภาพทางเศรษฐกิจด้วยลง กิจกรรมในชีวิตประจำวัน หรือการพบปะสังสรรค์ทางสังคมน้อยลงก็ทำให้ผู้สูงอายุเกิดอารมณ์เศร้าซึม หรือแม้กระทั่งปัญหาการเบื่ออาหาร เนื่องจากรับรู้รสอาหารด้อยลง การเลือกรับประทานอาหารโดยไม่คำนึงถึงประเภทที่หลากหลาย และความครบถ้วนของสารอาหารที่ควรได้รับ หรือไม่ควรได้รับมากน้อยเกินไป

ปัญหาทุพโภชนาการ (ขาดสารอาหาร) ในผู้สูงอายุ

ลักษณะการขาดสารอาหารที่มักเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ คือ น้ำหนักตัวน้อยอันเนื่องมาจากการเสื่อมถอยของระบบทางเดินอาหาร และย่อยอาหาร และการขาดวิตามินแร่ธาตุ ผู้สูงอายุมีโอกาสขาดวิตามิน และแร่ธาตุสูง ถ้าการบริโภคอาหารไม่เพียงพอ หรือไม่ครบถ้วนตามที่ร่ายกายต้องการ การขาดวิตามินและแร่ธาตุบางชนิดนั้นยังเกี่ยวพันกับการบริโภคโปรตีนไม่เพียงพอ หรือมีคุณภาพไม่ดีพออีกด้วย ผู้สูงอายุมีโอกาสที่จะขาดวิตามินแทบทุกชนิด ที่พบบ่อยคือการขาดวิตามินซี มักพบในรายที่รับประทานผักและผลไม้น้อย เป็นโรคโลหิตจางเนื่องมาจากการขาดธาตุเหล็ก และอีกโรคหนึ่งที่สำคัญที่มักพบโดยทั่วไปก็คือ โรคกระดูกพรุน อันเนื่องมาจากการขาดแคลเซียม และมีภาวะการขาดโปรตีน วิตามินดี และวิตามินซี ร่วมด้วย

ดังนั้นการดูแลโภชนาการผู้สูงอายุที่ควรได้รับนั้นจึงมีความสำคัญ และต้องมีความครบถ้วนอย่างพอดีต่อความต้องการของร่างกาย เพื่อป้องกันทั้งปัญหาโรคอ้วน และปัญหาทุพโภชนาการที่อาจเกิดขึ้นได้

นอกจากนี้ยังควรดูแลสุขภาพกาย และสุขภาพใจของผู้สูงอายุให้แข็งแรงแจ่มใสด้วยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและพอเหมาะกับวัย นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ หมั่นดูแลรักษาร่างกายเป็นประจำ พบปะสังครรค์กับครอบครัว และผู้ใกล้ชิดอย่างสม่ำเสมอ หากิจกรรมยามว่างทำเพิ่มเติม

วันพฤหัสบดี, กันยายน ๑๔, ๒๕๔๙

โสม

โสม Ginseng (วงศ์ Araliaceae)
โสมเกาหลี โสมคน Panax ginseng C.A. Mayer
โสมอเมริกัน Panax quinquefolium L.
ชื่อทางพฤกษศาสตร์ของโสมมาจาก pan หมายถึงทั้งหมด ax หมายถึงการรักษา
gin หมายถึงคน และ seng หมายถึงเครื่องหอม
Ginseng เป็นภาษาจีน แปลว่า man-root หมายถึง รากไม้ที่มีรูปร่างคล้ายคน เพราะรากจะอวบ มองดูคล้ายมีหัว แขน และขา จึงเรียกว่า "โสมคน" (man-root) โสมมีอายุหลายปี มีถิ่นกำเนิดในเกาหลี จีน โซเวียต ญี่ปุ่น อเมริกา และคานาดา เป็นพืชที่ปลูกยาก ต้องการภูมิอากาศเฉพาะ ลักษณะโดยทั่วไปของ โสมเป็นพืชโตช้า ถ้าเพาะจากเมล็ดต้องใช้เวลาถึง 5-6 ปี จึงจะใช้ได้ ในปีแรกต้น จะสูงเพียง 1 ฟุต มีใบ 1 ใบ เป็นใบประกอบมี 3-5 ใบย่อย จากนั้นจะมีใบเพิ่มขึ้นปีละ 1 ใบ ปีที่ 3 จะเริ่มออกดอก มีก้านดอกยาวชู ออกมาจากยอด ดอกเป็นช่อแบบซี่ร่ม สีม่วง ออกประมาณเดือนมีนาคม - เมษายน ผลกลมสีเขียว เมื่อสุก จะเป็นสีแดง เมื่ออายุ 4-5 ปี ต้นจะสูงประมาณ 2 ฟุต รากโสมที่นำมาใช้เป็นยาต้องมีอายุ 3-7 ปี จะเก็บ รากโสมราวเดือนกุมภาพันธ์ก่อนจะออกดอกจะเป็น ช่วงที่มีสารสำคัญมากสุด

โสมเกาหลี มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนตอนเหนือ และเกาหลี แต่ปัจจุบันปลูกได้ทั้ง จีน เกาหลี รัสเซีย และญี่ปุ่น เป็นไม้ล้มลุก ขนาด 60-80 ซม. ใบเป็นใบประกอบมี 3 ใบย่อย ใบจะเพิ่มขึ้นปีละ 1 ใบ ดอกสีขาวออกเป็นช่อ ผลขนาดเล็ก เมื่อสุกจะเป็นสีแดง รากจะอวบแตกเป็นแขนง 2 อัน คล้ายขาคน ดูทั้งรากคล้ายคนจึงเรียก "โสมคน" รากแก่ ยาว 8-20 ซม.
โสมเกาหลีปลูกยาก ต้องปลูกในที่ที่ไม่เคยปลูกโสมมาก่อนในช่วงเวลา 10-15 ปี ต้องมีแสงไม่มาก และต้องเอาใจใส่ดูแล อย่างดี ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ดจากต้นแก่ มีอายุ 4 ปีขึ้นไป และต้องนำเมล็ดมา ปลูกทันที หากทิ้งให้แห้งจะไม่ขึ้น ถ้านำเมล็ดมาฝัง ในที่ชื้นทันที จะงอกใน 8 เดือน แต่ถ้าทิ้งเมล็ดไว้ 4 เดือนจึงนำมาปลูก ในที่ชื้นจะใช้เวลา 19 เดือนจึงจะงอก โสมชอบดินเหนียว pH ประมาณ 5.5-6.0 อุณหภูมิ 0-15 องศา ไม่ชอบแดด จึงต้องทำร่มบังให้ ภูมิอากาศในประเทศไทยไม่เหมาะสำหรับโสม จึงยังไม่สามารถปลูกโสมได้

โสมที่ใช้ทางยาต้องมีอายุ 5-6 ปี จะเก็บผลสุกและเมล็ดแล้วจึงเก็บราก
โสมเกาหลีมี 2 ชนิด ขึ้นกับกรรมวิธีในการทำให้แห้ง

โสมขาว (White Ginseng) นำรากโสมที่ล้างสะอาดมาตากแดดหรืออบให้แห้งทันที
โสมแดง (Red Ginseng) นำรากโสมที่คัดเอาเฉพาะที่ดีๆมาล้างให้สะอาด แล้วอบด้วยไอน้ำ 120-130 ํc. เป็นเวลา 2-4 ชั่วโมง จนเป็นสีน้ำตาลแดง แล้วจึงนำไปอบให้แห้ง จะเป็นสีน้ำตาลแดง (ใส) และจะมีสารสำคัญที่ออกฤทธิ์เพิ่มขึ้นอีก 4 ชนิด ราคาแพงกว่าโสมขาว
โสมอเมริกัน เป็นพืชที่มีถิ่นกำหนิดในสหรัฐอเมริกา ต้นสูงประมาณ 30 ซม. ใบประกอบมีใบย่อย 5 ใบ ดอกสีขาวเหลืองเป็นช่อผลสุกแดง รากแก่ยาว 5-10 ซม. แตกเป็นหลายแขนงคล้ายซ่อม มีรอยย่นตามขวาง ขยายพันธุ์โดยเมล็ด นำไปฝังทรายที่ชื้น ลึก 1.25 ซม. ในที่เย็น เป็นเวลา 18 เดือน จึงนำไปปลูกลงแปลงได้ ชอบดินร่วน การระบายน้ำดี เก็บรากเมื่ออายุ 5-7 ปี ตากให้แห้งในที่ร่ม และใช้เวลาถึง 6 สัปดาห์ หรือ อบในตู้อบที่มีอากาศถ่ายเทได้ให้ความร้อน 60-80 ํF 2-3 วัน แล้วเพิ่มเป็น 90 ํF
ในตำรายาจีนกล่าวถึงสรรพคุณของโสมว่า เป็นยาบำรุงกำลัง ยากระตุ้น ยาเร่งกำหนัด รักษาอาการ ทางประสาท อ่อนเพลีย ไม่มีแรง อาหารไม่ย่อย หัวใจเต้นแรงผิดปกติ โรคหอบหืด โรคความจำเสื่อม ปวดศีรษะ ชัก และมะเร็ง และเชื่อกันว่าโสม เพิ่มความต้านทานต่อโรค ทำให้ฟื้นไข้เร็ว
มีคำแนะนำว่าไม่ควรใช้ต่อเนื่องกันเป็นเวลานานเกิน 1 เดือนต่อครั้ง

ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์
สารประกอบเคมีที่สำคัญในโสม
เป็นสารกลุ่ม Triterpenoid saponins มีอย่างน้อย 12 ชนิด เรียกว่า จินเซ็นโนไซด์ (Ginsenosides) หรือพาแนกโซไซด์ (panaxosides)

ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาและการนำไปใช้รักษาโรค
1. ฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง
ปริมาณน้อย ๆ จะกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้กระชุ่มกระชวย กระปรี้กระเปร่า สมอง ปลอดโปร่ง ไม่ง่วงเหงาหาวนอน แต่ถ้าให้ปริมาณมากๆจะกดประสาททำให้ซึม
2. ฤทธิ์ต่อความดันโลหิต
โสมเกาหลีทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น (มี ginsenoside Rg1 )
โสมอเมริกันทำให้ความดันโลหิตลดลง (มี ginsenoside Rb1)
3. ลดน้ำตาลในเลือด โดยรับประทานโสมวันละ 2.7 กรัม 3 เดือน น้ำตาลในเลือดจะลดลง
4. เพิ่มความต้านทานต่ออิทธิพลภายนอกที่เข้ามากระทบ เช่น ความเครียด ความเหนื่อยล้า โรคภัยไข้เจ็บ (เช่น มะเร็ง) สารที่ช่วยให้ร่างกายปรับตัวเพิ่มความต้านทานโรคได้นี้ เรียกว่า "Adaptogenic Agent"
5. รักษาและป้องกันโรคผนังเส้นเลือดแดงใหญ่หนาและแข็ง (atherosclerosis) โดยไปช่วยทำให้ cholesterol เกาะผนังหลอดเลือด ได้น้อยลง
6. เป็นยาบำรุงกำลัง ทำให้กล้ามเนื้อมีความสามารถดีขึ้น ใช้กับพวกนักกีฬาประเภทต่างๆ เช่น ว่ายน้ำ วิ่ง
7. ฤทธิ์ลดไขมันในเลือด มีการทดลองทั้งในสัตว์ทดลองและในคน พบว่าคนที่รับประทานรากโสม ขนาดวันละ 2.5 กรัมเป็นเวลา 3-4 เดือน ปริมาณ cholesterol ในเลือดจะลดลง แต่มีข้อแนะนำว่าไม่ควร รับประทานโสมติดต่อกันเกิน 1 เดือน จึงไม่สมควรใช้
8. ฤทธิ์ต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด อันเป็นสาเหตุของการอุดตันของหลอดเลือด
9. ฤทธิ์ต้านพิษต่อตับ โสมสามารถป้องกันการเกิดพิษต่อตับอันเกิดจาก คลอโรฟอร์ม คาร์บอนเตตระคลอไรด์ และแอลกอฮอล์ได้
10. ชะลอความแก่ สารสกัดจากโสมมีฤทธิ์เป็น antioxidant ต้านการเกิด free radicals ซึ่งเป็น สาเหตุให้เซลล์แก่เร็ว
โดยปกติโสมเป็นสมุนไพรที่ไม่ได้มีการนำไปใช้รักษาโรคชนิดหนึ่งชนิดใดโดยเฉพาะเจาะจง แต่จะมี ผลกว้าง เพื่อเสริมสร้างความต้านทานของร่างกายต่อสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป โดยไปต้านทาน การเกิดโรค เช่น บำรุงร่างกาย ช่วยให้เจริญอาหาร ลดอาการนอนไม่หลับ เครียด เหนื่อยล้า หรือเพิ่มความ ต้านทานในโรคมะเร็ง แต่ไม่สามารถรักษาโรคมะเร็ง ให้หายได้
โสมชนิดอื่นๆซึ่งอยู่ในวงศ์ Araliaceae เช่นเดียวกับโสมเกาหลี แต่ออกฤทธิ์ ไม่เหมือนกัน

โสมชานสี โสมจีน (Sanchi Ginseng) เป็นรากของ Panax notoginseng Burk. (P.wangianus Sun.) เป็นโสมที่ปลูก ในประเทศจีน มณฑลยูนนานและกวางสี และบางส่วนของเวียดนาม ในตำรายาจีนใช้ห้ามเลือด ฟกช้ำ บวม

โสมญี่ปุ่น (Japanese Chitkusetsu Ginseng) เป็นรากของ P. pseudoginseng Wall.subsp. japonicus Hara (P.japonicus C.A.Meyer) ในญี่ปุ่นใช้แทนโสมเกาหลี แต่ฤทธิ์อ่อนกว่า แก้ปวดท้อง เกร็ง

โสมฮิมาลายัน ได้จาก P.pseudoginseng subsp. himalacus Hara ขึ้นทั่วไปในเนปาล และ มณฑลฮิมาลายันตะวันออก

โสมไซบีเรีย (Siberian Ginseng) ได้จากรากของ Eleutherococcus senticosus Maxim (Acanthopanax sentocosus Harms.)
ส่วนที่เรียกว่าโสมที่มีปลูกในประเทศไทยเป็นพืชวงศ์อื่นที่ไม่ใช่วงศ์ Araliaceae ไม่มีสารสำคัญหรือ ประโยชน์ใดๆ เหมือนกับโสมเกาหลีเลย เป็นเพียงพืชผักที่ใช้เป็นอาหาร บางชนิดอาจมีรากรูปร่างคล้าย รากโสมเกาหลีเท่านั้น มีดังนี้
โสม โสมคน : Talinum paniculatum Gaertn. (T.patens Willd.) วงศ์ Portulacaceae
โสมเกาหลี โสมคน โสมจีน : Talinum triangulare Willd.วงศ์ Portulacaceae

วันอาทิตย์, กันยายน ๑๐, ๒๕๔๙

แคลเซียม นั้น สำคัญฉะนี้

แคลเซียมเป็นแร่ธาตุสำคัญในการสร้างและรักษาความแข็งแกร่งของกระดูกในคนเรา รวมไปถึงสร้างความแข็งแรงของฟันและกล้ามเนื้อให้มีสุขภาพดีด้วย

คงมีหลายคนสงสัยว่าจะเริ่มรับประทานแคลเซียมให้มากในช่วงวัยใดจึงจะดี จากข้อมูลพบว่า การรับแคลเซียมตั้งแต่อายุยังน้อย โดยเฉพาะในช่วงวัยรุ่นนับว่าเป็นช่วงเวลาสำคัญมาก ในการสร้างกระดูกในช่วงถัดไปของชีวิต และยังป้องกันโรคกระดูกพรุนได้อีกต่างหาก

มวลกระดูกของคนเรานั้นจะเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องไปจนถึงอายุ 30 หรือ 35 ปี สำหรับอาหารที่มีแคลเซียมอยู่มากนั้นจะอยู่ในอาหารประเภทนม ชีส โยเกิร์ต และผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับนมจะเป็นตัวช่วยสร้างมวลกระดูกขึ้นมา นอกจากนี้ในอาหารจำพวกผักใบเขียว ถั่วเมล็ดแห้ง เมล็ดอัลมอนด์ และผลไม้ ก็มีแคลเซียมอยู่ไม่น้อย

เนื่องจากเซลล์ในกระดูกจะถูกทำลายอยู่เสมอและมีการสร้างเซลล์ขึ้นมาใหม่ ดังนั้น ร่างกายจึงต้องการแคลเซียมเพื่อมาใช้ในกระบวนการนี้ ถ้าหากร่างกายได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอ จะส่งผลให้กระดูกอ่อนแอได้

แล้วจะรับประทานแคลเซียมในปริมาณเท่าไรจึงจะเพียงพอ ต่อคำถามนี้ก็ต้องยกคำแนะนำจากคณะสาธารณสุขศาสตร์ ฮาร์วาร์ด ในสหรัฐฯ ที่บอกไว้ว่าควรรับแคลเซียมให้ได้ เฉลี่ยประมาณวันละ 550 มิลลิกรัม แต่ปริมาณที่ว่านั้นก็ยังขึ้นอยู่กับอายุที่ต่างกันไปด้วย ถ้าอยู่ในช่วงอายุระหว่าง 19-50 ปี ควรได้รับแคลเซียมประมาณ 1,000 มิลลิกรัม แต่ถ้าอายุ 50 ปีขึ้นไป ควรจะให้ได้ปริมาณวันละ 1,200 มิลลิกรัม

เพราะฉะนั้น ก่อนรับประทานอาหารวันนี้ ก็อย่าลืมว่าได้กินอาหาร ที่มีส่วนประกอบของแคลเซียมไปด้วยหรือยัง.

สมัครกิฟฟารีน เพื่อโอกาศที่ดีของชีวิต

เป็นเรื่องราวของผู้ชายสองคนที่เกิดในวันเดียวกัน ในโรงพยาบาลแห่งเดียวกัน เรียกได้ว่าตอนเกิดพวกเขาไม่มีอะไรแตกต่างกันแม้แต่อย่างเดียว

แต่ความแตกต่างของทั้งสองคนเริ่มต้นขึ้นในตอนออกจากโรงพยาบาล พ่อแม่มารับพวกเขาฐานะแตกต่างกันมาก คนหนึ่งพ่อแม่มีฐานะดีเป็นเจ้าของกิจการ ขับรถเบนซ์มารับลูก ขณะที่อีกคนหนึ่งแม่ขายขนมครก อาศัยรถสามล้อที่พ่อยึดเป็นเครื่องมือหาเลี้ยงชีพ ขับมารับลูกออกจากโรงพยาบาล ด้วยเหตนี้ชะตาชีวิตของเด็กน้อยทั้งสองคนจึงต่างกัน


เด็กน้อยทั้งสองคนกลายเป็นเพื่อนกันเพราะบ้านอาศัยใกล้กัน หากแต่มีถนนมาตัดแบ่งความเป็นอยู่ให้ห่างไกลกันลิบลับ ในขณะที่ฝ่ายหนึ่งยังต้องช่วยแม่แคะขนมครกหาเงินยังชีพ ก่อนจะได้ไปโรงเรียน แต่อีกฝ่ายหนึ่งได้นั้งรถเก๋งไปโรงเรียนสบายๆในทุกๆวัน


เมื่อโตขึ้นมา ทั้งคู่ได้เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยเดียวกัน ในวันรับปริญญาพ่อแม่ของทั้งคู่ต่างเข้ามาแสดงความยินดี แต่นอกเหนือจากรอยยิ้มและความปลื้มปิติของแม่ที่มีให้แล้ว พ่อแม่ที่มีฐานะดีกว่า ยังมีของขวัญพิเศษราคาแพงมาแสดงความยินดีให้กับลูกชายคนเก่งของพวกเค้าอีกด้วย แต่พระเอกในเรื่องคงมีเพียงรอยยิ้มของคุณพ่อคุณแม่ที่เป็นกำลังใจให้เขามาโดยตลอด

และวันฟ้าใสหลังฝนตกก็มาถึง เมื่อพระเอกในเรื่องของเราได้พบกับเพื่อนคนเดิมในวันฝนตกเด็กหนุ่มคนที่ฐานะดีกว่า ขณะยืนรอรถเมล์อยู่ที่ป้ายเขาเจอเพื่อนเก่าขับรถคันใหม่ที่เพิ่งได้รับมาโฉบผ่านหน้า เด็กหนุ่มคนนั้นยิ้มแย้มทักทายพระเอกของเราจากในรถแล้วจากไป

พระเอกหนุ่มที่ยังยืนอยู่ที่ป้ายรถเมล์คิดกับตัวเองว่าแม้ตลอดชีวิตที่ผ่านมา สิ่งที่เขาได้รับจะแตกต่างกับเด็กผู้ชายอีกคนหนึ่งที่เกิดมาพร้อมๆกันกับเขา แต่ถึงวันนี้เขารู้แล้วว่า อดีตที่ผ่านมาเลือกและเปลี่ยนแปลงมันไม่ได้ แต่วันนี้เขาสามารถกำหนดชีวิตตัวเองได้ ถ้ายอมรับคำว่า "โอกาส"

สนใจสมัครเป็นสมาชิก "ทำธุรกิจกิฟฟารีน" สอบถามเพิ่มเติมที่
0-9135-0302
0-5904-2600
0-2912-0302

ส่งเมล์

กฏของการทำ กิฟฟารีน

1. พึงยึดมั่นในกฎระเบียบอย่างเคร่งครัด
“ จงปฎิบัติต่อผู้อื่น ดังเช่นที่คุณปรารถนาจะให้ผู้อื่นปฎิบัติต่อคุณ ” สิ่งนี้ถือเป็นความรับผิดชอบของสมาชิกสกายไลน์ทุกคนที่ต้องยึดมั่นและปฎิบัติตามกฎระเบียบอย่างเคร่งครัด ทั้งการกระทำและจิตใจ การฝ่าฝืนกฎระเบียบจะนำมาสู่การเพิกถอนสถานภาพกรเป็นสมาชิก
2. อย่าชักชวนผู้ที่มีคุณสมบัติไม่ครบถ้วนสมัครเป็นสมาชิก
ผู้สมัคร จะต้องมีอายุครบ 15 ปีบริบูรณ์ เพราะจะต้องมีความรับผิดชอบในหลาย ๆ ด้าน เช่น การทำ
นิติกรรม การบริหารองค์กร การปฎิบัติตามระเบียบปฎิบัติและความรับผิดชอบด้านการเงิน
- กรณีของสามีภรรยา ให้สมัครร่วมกัน โดยใช้รหัสสมาชิกเดียวกัน
- ผุ้สมัคร ต้องไม่มีชื่อในทะเบียนสมาชิกของบริษัทฯ มาก่อน

3. อย่าพูดเกินจริงถึงรายได้ที่จะได้รับจากธุรกิจสกายไลน์
จงแสดงแผนการขยายงานและแผนการตลาดของสกายไลน์อย่างชัดเจนและถูกต้อง พร้อมทั้งชี้ให้เห็นว่า ธุรกิจสกายไลน์ คือ โอกาสในการเสริมสร้างผลงานที่สามารถบรรลุถึงเป้าหมายซที่นำมาซึ่งรายได้และสร้างความมั่นคงให้กับชีวิต ซึ่งต้องอาสัยองค์ประกอบที่สำคัญ คือ การทำงานด้วยความมานะพยายามและความตั้งใจจริง
4. อย่าขายตัดราคา
จงขายผลิตภัณฑ์ให้กับลูกค้าตามราคาที่บริษัทฯ กำหนดไว้ในแคตตาล็อกอย่างเคร่งครัด การขายตัดราคานั้น จะลดผล

วันอาทิตย์, สิงหาคม ๒๗, ๒๕๔๙

ความดันโลหิตสูง

ผลวิจัยระบุคนไทยเป็น “โรคความดันโลหิตสูง” มากขึ้น กว่า 71% สาเหตุสำคัญของการเกิดโรคอัมพาต อัมพฤกษ์ หัวใจล้มเหลว โรคหลอดเลือดสมอง ตีบ แตก ตัน โรคไตวายเร็วขึ้น ชี้ไม่เคยตรวจคัดกรอง ความดันโลหิต และขาดความรู้ ความเข้าใจในการควบคุมความดันให้อยู่ในระดับปกติ น่าวิตกช่วงอายุที่เกิดโรคลดลงต่ำเรื่อยๆ อนาคตคาดอายุแค่ 40 ปี ไม่แก้พฤติกรรมกินอยู่ โรคร้ายรุมเร้า

การสำรวจสภาวะสุขภาพอนามัยของประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 3 โดยสํานักงานการสํารวจสภาวะสุขภาพอนามัย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) พบว่า คนไทยเป็นโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้โรคความดันโลหิตสูงเป็นภัยเงียบที่คร่าชีวิตและนำไปสู่โรคร้ายอื่นๆ อีกมากมาย

พญ.ฉายศรี สุพรศิลป์ชัย ผู้อำนวยการสำนักโรคไม่ติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข เผยว่า สถานการณ์การเกิดโรคของคนไทยในปัจจุบัน มีภาระเป็นโรคไม่ติดต่อมากขึ้น เช่น โรคหัวใจขาดเลือด โรคอัมพฤกษ์อัมพาต โรคไตวาย เป็นต้น โดยโรคเหล่านี้มักเกิดจากไม่รู้จักพฤติกรรมเสี่ยงและมีพฤติกรรมการกิน การอยู่ที่ละเลยเรื่องสุขภาพ พฤติกรรมเหล่านี้จะถูกสะสมไว้จนในที่สุดโรคร้ายก็จะระเบิดออกมา

ที่ผ่านมาเราจึงพบผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อส่วนใหญ่ในคนวัยทำงานตอนปลายและเกษียณอายุ แต่ในอนาคตอายุของผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อจะลดลง จากที่เคยพบในช่วงอายุ 50-60 ขึ้นไป จะลดลงเป็น 40 ปี หรืออาจต่ำกว่านั้น เนื่องจากมีปัจจัยเสี่ยงเพิ่มขึ้น คือ ความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นปัจจัยที่มักไม่ได้รับความสนใจในการควบคุม แต่เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญมาก เพราะเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคต่างๆ เหล่านี้และทำให้เกิดในเวลาที่เร็วขึ้นด้วย

พญ.ฉายศรี กล่าวอีกว่า โรคภาวะความดันโลหิตสูงที่เกิดขึ้น นับเป็นภัยเงียบที่น่ากลัวไม่ต่างจากบุหรี่ เนื่องจากเป็นภาวะเสี่ยงและโรคที่ไม่แสดงอาการแต่จะเป็นปัจจัยเสียงให้เกิดโรคร้ายต่างๆ เช่น โรคหลอดเลือดสมองแตก ตีบ ตัน โรคหัวใจขาดเลือด โรคไตวาย โรคหัวใจล้มเหลวเป็นต้น ในอดีตโรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคที่ไม่ค่อยพบในคนไทย คิดเป็น 5% ของประชากรทั้งหมด ในปี 2532 แต่การสำรวจสภาวะสุขภาพอนามัยของประชาชนไทย ในปี 2546-2547 พบมีประชากรเป็นโรคความดันโลหิตสูงถึง 22.1% และเริ่มพบในวัยรุ่น วันทำงานตอนต้นเพิ่มมากขึ้น สาเหตุที่มีภาวะความดันโลหิตสูง เกิดจากพฤติกรรมการกินของคนไทยที่เปลี่ยนไป โดยมักกินอาหารที่มีรสเค็มขึ้น ขณะที่มีส่วนประกอบของผัก ผลไม้น้อย และพฤติกรรมการอยู่ แบบนั่งๆ นอนๆ ไม่ออกกำลังกาย ภาวะน้ำหนักเกินและอ้วนที่เพิ่มขึ้น และมีความเครียดเรื้อรัง ประกอบกับการหาความเสี่ยงเข้าตัว บริโภคแอลกอฮอล์ปริมาณสูงที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว การดื่มเหล้า สูบบุหรี่ ซึ่งเหล่านี้ล้วนเป็นพฤติกรรมของคนเมืองทั้งสิ้น

“ภาวะของโรคความดันโลหิตสูง เป็นภาวะที่มีความดันโลหิต 120/80 mmHg (มิลลิเมตรปรอท) โดยผู้ที่มีระดับความดันโลหิต 120/80-139/89 mmHg จัดเป็นภาวะความดันโลหิตค่อนข้างสูง และผู้ที่มีความดันโลหิต 140/90mmHg ขึ้นไป จัดเป็นกลุ่มผู้ป่วยที่ต้องตระหนักและเห็นความจำเป็นต้องควบคุมให้ความดันลดลง หากไม่มีการควบคุมจะทำให้หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ถูกทำลายไม่ว่าจะเป็นสมอง หัวใจ ไต เป็นต้น ทั้งยังมีโอกาสเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต หัวใจล้มเหลว หัวใจขาดเลือด และในระยะยาวจะทำให้ความจำเสื่อม ทั้งนี้ กลุ่มคนที่มีภาวะความดันสูงกว่าปกติเล็กน้อย คือ สูงกว่า 120/80 mmHg ที่ยังไม่ถือว่าเป็นโรค แต่หากมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆร่วมด้วย อาทิ ไขมันสูง สูบบุหรี่ ดื่มเหล้า เครียด จะมีโอกาสเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตง่ายขึ้น 40-50% ซึ่งคนส่วนใหญ่ที่ความดันสูงกว่าปกติเล็กน้อยมักไม่รู้ตัวและไม่ให้ความสำคัญในการควบคุม รวมทั้งยังมีพฤติกรรมเสี่ยงอยู่ คนกลุ่มนี้จึงเป็นเหมือนระเบิดเวลาของโรคไม่ติดต่อที่จะแสดงอาหารออกมาในอนาคตอันใกล้”พญ.ฉายศรีกล่าว

นพ.เกษม เวชสุทธานนท์ ผู้ดูแลแผนงานการสำรวจสภาวะสุขภาพอนามัย เผยว่า ในการสำรวจครั้งนี้ นอกจากพบว่า ประชาชนไทยจะมีภาวะความดันโลหิตสูงขึ้นแล้ว ประชาชนส่วนใหญ่ กว่า71.4% ไม่เคยรับการตรวจวินิจฉัยโรคความดันโลหิตสูง จึงทำให้ไม่ได้รับการรักษา และไม่ได้รับข้อมูลคำแนะนำเกี่ยวกับความดันโลหิตสูงที่ถูกต้อง ทำให้ขาดโอกาสในการป้องกัน และทำให้มีความเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อต่างๆ มากขึ้น

นพ.เกษม แนะแนวทางการปฏิบัติตัวเพื่อควบคุมระดับความดันโลหิตสูงเกินกว่าปกติ ดังนี้ 1.เลี่ยงอาหารรสจัด ลดการบริโภคเกลือ เพิ่มการรับประทานผักผลไม้ 2.คุมน้ำหนัก โดยชายควรมีรอบเอวไม่เกิน 36 นิ้ว และผู้หญิงไม่เกิน 32 นิ้ว 3. ออกกำลังกายด้วยวิธีการหายใจ ให้เกิดการผ่อนคลายทางจิต และให้ระบบเลือดไหลเวียนดี 4. ลดความเครียด และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ 5. ลดการบริโภคแอลกอฮอล์

พญ.ฉายศรี กล่าวเสริมว่า จากสถิติการสำรวจชี้ว่าคนเมืองส่วนใหญ่มักมีความดันโลหิตสูง ยิ่งไปกว่านั้นคนชนบทที่ย้ายเข้าสู่เมืองจะมีโอกาสที่ความดันจะเพิ่มสูงขึ้นภายใน 2 ปี แสดงให้เห็นว่า สิ่งแวดล้อมในเองมีอิทธิพลอย่างยิ่งในการเกิดโรค เพราะตัวที่กำหนดพฤติกรรมต่างๆ ของเรา ดังนั้นสิ่งสำคัญที่อยากฝากให้คนเมืองปฏิบัติ คือ การจัดการเวลา เพื่อให้ลดความเร่งรีบ และลดความเครียดของตัวเอง และต้องปฏิบัติตามหลักควบคุมความดัน ลดเค็ม เพิ่มผัก ลดแอลกอฮอล์ คุมน้ำหนัก จำกัดความเครียด รู้ความดันของตัวเอง

วันพุธ, สิงหาคม ๒๓, ๒๕๔๙

ประโยชน์ น้ำมันปลา

คุณกำลังมีอาการเหล่านี้ใช่หรือไม่?!...เหนื่อย, เมื่อยล้า, เครียด, ซึมเศร้า, ภูมิแพ้, ภูมิคุ้มกันต่ำ, เป็นหวัดบ่อย, จมูกตัน, ผื่นขึ้นผิวหนัง, ผิวหนังอักเสบ...ลองมา ค้นหาสาเหตุและวิธีแก้ไขจากการบรรยายเรื่องกรดไขมันโอเมก้า-3 ในน้ำมันปลา ซึ่งสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ร่วมกับบริษัทบีอีซีเทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทมินามิ นูทริชั่น (ประเทศไทย) จำกัด จัดขึ้นที่โรงแรมพลาซ่าแอทธินี เมื่อเร็วๆนี้

ดร.อเล็กซ์ ริชาร์ดสัน ผู้เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์อาหารเสริมกล่าวว่า เด็กในโลกตะวันตกถูกเลี้ยงด้วยอาหารฟาสต์ฟู้ด ซึ่งส่งผลเสียต่อพฤติกรรม การเรียนรู้ การพัฒนาสมองและอารมณ์ โดยเฉพาะเด็กที่ได้รับสารอาหารโอเมก้า-6 และโอเมก้า-3 ไม่เพียงพอในช่วงคุณแม่ตั้งครรภ์กับช่วงกินนมแม่ อันเป็นช่วงที่สมองของตัวอ่อนในครรภ์ และของทารกแรกเกิดกำลังพัฒนาอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดโรคสมาธิสั้นในเด็ก ส่วนคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์เองก็จะถูกลูกในท้องดึงสารอาหารจากเนื้อเยื่อสมองของแม่ ส่วนช่วงคุณแม่ให้ นมลูกก็ต้องส่งกรดไขมันสารโอเมก้า-3 ในร่างกายตัวเองให้ลูก ถ้าหากคุณแม่บริโภคอาหารที่มีสารโอเมก้า-3 ไม่เพียงพอต่อร่างกาย ก็จะทำให้คุณแม่เกิดภาวะซึมเศร้าหลังคลอด

ภ.ญ.นันทวดี พิทยาพิบูลพงศ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวพรรณและริ้วรอยเผยว่าโอเมก้า-3 เป็นกรดไขมันที่ร่างกายคนเราสังเคราะห์ขึ้นเองไม่ได้ และร่างกายก็ขาดไม่ได้ด้วย!! เหมือนโอเมก้า-6 แต่ทุกวันนี้เรารับประทานอาหารที่มีสารโอเมก้า-6 มากกว่า จนเกิดภาวะเสียสมดุล โดยเฉพาะในเด็กเล็กที่ชอบกินขนมกรุบกรอบที่อุดมไปด้วยสารโอเมก้า-6 ทำให้เด็กเป็นโรคภูมิแพ้, ผิวแห้ง, ทางเดินหายใจอักเสบ, ไอคิวต่ำ, สมาธิสั้น และภายในร่างกายเกิดการแบ่งตัวเซลล์มากกว่าปกติที่อาจเป็นเซลล์มะเร็ง แต่ถ้าให้บุตรหลานเริ่มรับประทานน้ำมันปลาในปริมาณที่พอเหมาะคือ 500 มก./วัน เท่ากับผู้ใหญ่ก็จะช่วยเพิ่มโอเมก้า-3 ให้ เพียงพอต่อร่างกายแล้ว ยังพบความมหัศจรรย์ของโอเมก้า-3 อีกมากมาย เช่น ช่วยให้ผิวพรรณชุ่มชื้น, ทำให้ทางเดินอาหารหล่อลื่น ไม่เกิดภาวะท้องผูก, หล่อลื่นทางดวงตาไม่ให้เกิดน้ำตาแห้ง, ลดสภาวะอักเสบของผิวหนัง เช่น สิว, ช่วยลดอาการรุนแรงทางอารมณ์ เช่น ผู้หญิงวัยใกล้หมดประจำเดือน, ช่วยลดความเครียด อันเป็นสาเหตุให้นอนไม่หลับ และอ้วนบริเวณกลางลำตัว... คลิก น้ำมันปลา


วันพุธ, สิงหาคม ๑๖, ๒๕๔๙

ไขมันในเลือดสูง

ไขมันในเลือดสูงมีหลายชนิด แต่ที่คนเรามักรู้จักและคุ้นหูคือ โคเลสเตอรอล ไตรกลีเซอร์ไรด์ และ แอล ดี แอล โคเลสเตอรรอล เอช ดี แอล โคเลสเตอรอล ไขมันชนิดที่ไม่ดี ก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ คือ โคเลสเตอรอล ไตรกลีเซอร์ไรด์ และ แอลดี แอล โคเลสเตอรอล ส่วนเอช ดี แอล โคเลสเตอรอล เป็น ไขมันชนิดที่ดี ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ

โดยทั่วไปการตรวจระดับไขมันในเลือดจะมีค่าที่รายงานเป็น 3 ชนิด คือ โคเลสเตอรอล (Cholesterol)ไตรกลีเซอร์ไรด์ (Triglyceride) และ เอช ดี แอล หากตรวจพบโคเลสเตอรอลในเลือดสูง อาจเกิดจาก Lipoprotein ที่สูงได้ 2 ชนิด

1.ชนิดความหนาแน่นต่ำ (LDL) หรือไขมันชนิดที่ไม่ดี เป็นชนิดอันตรายเพราะเป็นโคเลสเตอรอลที่ไปสะสมในผนังหลอดเลือด หลอดเลือดแดงตีบและแข็ง

2.ชนิดความหนาแน่นสูง (HDL)หรือไขมันชนิดที่ดี ทำหน้าที่ขจัดไขมันอันตรายไปจากกระแสเลือดต่อต้านการสะสมผิดที่ของไขมันและโคเลสเตอรอล

ดังนั้น ถ้าพบว่าโคเลสเตอรอลสูงจะต้องแยกว่าตัวที่สูงเป็นผู้ร้าย (LDL) หรือผู้พิทักษ์ (HDL)

ไตรกลีเซอร์ไรด์ (Triglyceride) ถ้าไตรกลีเซอร์ไรด์มีปริมาณสูง ก็จะต้องควบคุมอาหารโดยควบคุมน้ำหนักตัว ลดของหวาน และแอลกอฮอล์ ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม เพื่อเพิ่มการใช้พลังงานและช่วยในการทำงานของหัวใจ เมื่อออกกำลังกายอย่างเหมาะสม ถูกวิธี และสม่ำเสมอแล้ว ระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ มักจะลดลง และสามารถเพิ่มปริมาณไขมันผู้พิทักษ์ได้ ทั้งนี้ ระดับไขมันในร่างกายที่ปกติมีค่าดังนี้ โคเลสเตอรอล ต่ำกว่า 200 มก./ดล. ไตรกลีเซอร์ไรด์ ต่ำกว่า 200 มก./ดล. และเอช ดี แอช โคเลสเตอรอลสูงกว่า 35 มก./ดล.

ไขมันได้จากไหน

ทั้งโคเลสเตอรอล และไตรกลีเซอร์ไรด์ เป็นไขมันที่ร่างกายได้มาจาก 2 ทาง คือ จากอาหารที่รับประทาน และจากการสร้างขึ้นเองในร่างกาย

อาหาร

อาหารจากพืชจะไม่มีโคเลสเตอรอล แต่อาหารที่มาจากเนื้อสัตว์จะมีโคเลสเตอรอลมากน้อยแตกต่างกัน ที่มีมาก ได้แก่ เครื่องในต่าง ๆ ไข่แดง นม เนย เนื้อติดมัน หนังสัตว์ และสัตว์ที่มีกระดอง เช่น กุ้ง หอย ปลาหมึก ปู

ส่วนไตรกลีเซอร์ไรด์จะได้จากน้ำมันและไขมันของอาหารทุกชนิด

การสร้างขึ้นเองในร่างกาย

โคเลสเตอรอลที่ร่างกายสร้างขึ้นเองโดยการเผาผลาญอาหารพวกแป้ง น้ำตาล ไขมัน และเนื้อสัตว์ อวัยวะที่ทำหน้าที่สร้างโคเลสเตอรอล คือ ตับ สารอาหารที่จะกระตุ้นการสร้างโคเลสเตอรอล ได้แก่ ไขมันอิ่มตัว เช่น น้ำมันจากสัตว์ น้ำมันมะพร้าว กะทิ

ส่วนไตรกลีเซอร์ไรด์มีทั้งที่ได้จากอาหาร และถูกสร้างขึ้นโดยตับเช่นเดียวกัน โดยจะถูกกระตุ้นให้สร้างมากขึ้นโดย แอลกอฮอล์ น้ำตาล และพลังงานที่ได้รับมากเกินไป

สาเหตุไขมันในเลือดสูง

1. ความผิดปกติทางกรรมพันธุ์
2. โรคบางอย่าง เช่น โรคเบาหวาน โรคอ้วน ขาดฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์
3. จากยาบางชนิด เช่น ยาขับปัสสาวะ สเตียรอยด์
4. การรับประทานอาหารไม่ถูกหลักโภชนาการ
5. การดื่มสุราเป็นประจำ

อันตรายที่เกิดขึ้น

1. โรคหัวใจขาดเลือด ทำให้มีอาการแน่นหน้าอก โดยเฉพาะขณะออกกำลังกาย
2. อัมพาต แขนขาไม่มีแรงข้างใดข้างหนึ่ง
3. เส้นเลือดไปเลี้ยงร่างกายไม่พอ โดยเฉพาะบริเวณขาทำให้เดินแล้วปวดน่อง

ไขมันผู้พิทักษ์

เอช ดี แอล คอเลสเตอรอล เป็นไขมันตัวสำคัญในการป้องกันหลอดเลือดแข็ง ผู้ที่มีระดับ เอช ดี แอลต่ำ มีโอกาสเป็นโรคหัวใจขาดเลือด การทำให้เอช ดี แอลเพิ่มมากขึ้นโดยออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ รักษาน้ำหนักตัวไม่ให้อ้วน งดสูบบุหรี่ งดขนมหวาน

ข้อควรปฏิบัติ

1. จำกัดอาหาร และเลือกรับประทานให้เหมาะสม โดยลดอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว และ/หรือโคเลสเตอรอล ได้แก่ เนื้อสัตว์ติดมัน เครื่องในสัตว์ สัตว์ที่มีกระดองแข็ง เช่น หอยนางรม ปู ปลาหมึก น้ำมันมะพร้าว กะทิ เป็นต้น รับประทานกรดไลโนเลอิก เช่น น้ำมันพืช ที่ทำจากข้าวโพดหรือถั่วเหลือง ซึ่งกรดนี้จะช่วยลดการสร้างคอเลสเตอรอล และไตรกลีเซอร์ไรด์ในร่างกาย
2. งดสุรา เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และงดบุหรี่
3. ออกกำลังกายให้เป็นประจำ
4. ควบคุมน้ำหนักให้ได้มาตรฐาน
5. กินผัก ธัญพืชให้มากขึ้น

ขจัด "กระดูกพรุน"

ล่วงเลยสู่วัยชรา อะไรๆ ที่เคยเต่งตึงกระชับรัดแน่นก็หย่อนยานเคลื่อนคล้อย เคยแข็งแกร่งก็กลับเปราะบางแตกหักง่าย ซ้ำร่างกายที่เคยตระหง่านตั้งตรงก็กลับแพ้พ่ายต่อแรงโน้มถ่วงมากขึ้นทุกวัน ยิ่งอายุยืนยิ่งเสมือนตกเป็นเป้าโจมตีของโรคภัยร้ายแรงต่างๆ ทั้งรู้ตัวและไม่รู้ตัวมากมาย โดยเฉพาะภาวะหลังโกงและตัวเตี้ยลงเมื่อย่างเข้าสู่วัยทองของผู้หญิงที่กลายเป็นภาพคุ้นตาไม่ใช่น้อยในสังคมไทย




ทั้งๆ ที่โรคกระดูกพรุนในผู้หญิงไทยวัยหมดประจำเดือนหลีกเลี่ยงได้ไม่ยากนัก ดังที่รองคณบดีฝ่ายวิจัย คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล อธิบายว่าเพียงออกกำลังกายสม่ำเสมอ รับประทานแคลเซียมควบคู่กับได้รับวิตามินดีในปริมาณที่เหมาะสมก็จะห่างไกลโรคร้ายนี้ได้ ทว่าปัจจุบันผู้หญิงไทยกลับเผชิญภาวะกระดูกพรุนเพิ่มสูงขึ้นมาก โดยพบว่าภายใน 1 ปี ประชากร 100,000 คนจะป่วยเป็นโรคกระดูกพรุนมากถึง 800 คน และหากเกิดการแตกหักของกระดูกสะโพกจากการกระทบกระแทกแล้ว 1 ใน 5 จะเสียชีวิตภายในเวลาเพียง 1 ปี และแค่ 1 ใน 3 เท่านั้นที่จะรักษาจนหายแล้วกลับมาเดินได้ดังปกติ

แม้สาเหตุหลักของโรคกระดูกพรุนในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนจะมาจากการขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนที่จะช่วยยับยั้งการสลายของกระดูก เกิดการสลายกระดูกไปเรื่อยๆ กระทั่งกระดูกพรุนในท้ายที่สุด นำมาสู่ภาวะกระดูกสันหลังทรุดตัวหลังจากสูญเสียแคลเซียมเป็นเวลานาน จนส่งผลให้กระดูกเปราะและแตกหักง่ายแม้เกิดอุบัติเหตุเล็กน้อย เช่น สะดุดหกล้ม ผู้ป่วยอาจต้องทนทุกข์ทรมานจากความเจ็บปวดและพิการไปตลอดชีวิต หรืออาจถึงขั้นเสียชีวิตจากการเกิดโรคอื่นๆ แทรกซ้อน

นอกจากนั้น ข้อมูลทางการแพทย์ยังระบุว่ากว่าร้อยละ 50 ของผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนในหลายประเทศทั่วโลกได้รับวิตามินดีไม่เพียงพอจะช่วยให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมเข้าสู่กระแสเลือด สอดคล้องกับสภาวการณ์ในประเทศไทยที่พบว่ากว่าร้อยละ 47 ของผู้หญิงวัยทองหรืออายุ 50 ปีขึ้นไปจะเป็นโรคกระดูกพรุนเนื่องมาจากได้รับวิตามินดีไม่เพียงพอเช่นกัน ยิ่งในวัย 75 ปีขึ้นไปจะประสบภาวะกระดูกพรุนมากขึ้นถึงร้อยละ 60

“วิตามินดีที่ได้รับจากแสดงแดดลดน้อยลงมากในผู้หญิงปัจจุบันเพราะไลฟ์สไตล์ไม่ค่อยถูกแสงแดดมากดังก่อนอีกแล้ว การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการอยู่เฉพาะในที่ร่มของผู้หญิง โดยเฉพาะผู้ที่ทำงานออฟฟิศหรืออาศัยในเมืองที่มักจะกลัวและหลีกเลี่ยงแสงแดด ทั้งการกางร่มเมื่อออกแดด สวมเสื้อผ้าปกปิดร่างกายมิดชิดเกินไป หรือกระทั่งทาครีมกันแดดที่มีค่า SPF ตั้งแต่ 8 ขึ้นไป แม้จะมีประโยชน์ในการป้องกันอันตรายจากการได้รับแสงแดดมากเกินไป แต่ขณะเดียวกันกลับทำให้ร่างกายได้รับวิตามินดีไม่เพียงพอ” ศ.นพ.บุญส่งเผย พลางแนะว่าการหันมาออกกำลังกายกลางแจ้งบ้างเพื่อให้ได้รับวิตามินดีจากแสงแดดในปริมาณที่เพียงพอจะช่วยป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุนได้ เพราะร้อยละ 90 ของวิตามินดีในร่างกายมาจากการสร้างขึ้นของผิวหนังเมื่อทำปฏิกิริยากับรังสีอัลตราไวโอเลตชนิด B (UVB) หลังจากได้รับแสงแดด

เปรียบเทียบให้เห็นภาวะกระดูกปกติกับคนที่เป็นโรคกระดูกพรุน
ด้วยแม้จะออกกำลังกายสม่ำเสมอและรับประทานแคลเซียมในปริมาณที่เพียงพอแก่ความต้องการของร่างกายจะช่วยยับยั้งภาวะกระดูกพรุนถามหาได้ ทว่าถ้าวิตามินดีที่เป็นตัวช่วยในการดูดซึมแคลเซียมจากทางเดินอาหารในร่างกายไม่เพียงพอ ท้ายสุดก็ยังเสี่ยงต่อโรคร้ายนี้อยู่ดี

“แม้คนทั่วไปจะเข้าใจว่าเมื่อได้รับปริมาณแคลเซียมเหมาะสมจากการดื่มนมหรือรับประทานอาหารแล้ว กระดูกจะแข็งแรงและไม่เป็นโรคกระดูกพรุน แต่ความจริงไม่ใช่แค่นั้น เพราะพวกเขาไม่ตระหนักว่าการที่ร่างกายจะดูดซึมแคลเซียมมาใช้ได้ดีนั้นจำเป็นต้องมีวิตามินดีอย่างเพียงพอด้วย แต่ถ้าได้รับวิตามินดีไม่เพียงพอก็ไม่อาจดูดซึมแคลเซียมไปใช้ประโยชน์ได้เต็มที่ จำเป็นต้องได้ทั้งแคลเซียมและวิตามินดีในปริมาณเหมาะสม”

นักวิทยาศาสตร์ดีเด่นประจำปี 2548 ของมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์จากการวิจัยโรคกระดูกพรุนในคนไทยอธิบายว่าจากเดิม 10 ปีที่แล้วการสร้างวิตามินดีจากแสงแดดไม่น่าห่วงเพราะคนไทยน้อยมากที่ขาดวิตามินดี แต่วันนี้กลับไม่เป็นเช่นนั้น แล้ว ด้วยพบว่าคนไทยจำนวนมากมีระดับวิตามินดีไม่เพียงพอสำหรับร่างกาย

นอกจากนั้น ในผู้ที่มีสีผิวเข้มคล้ำมากๆ ก็อาจสร้างวิตามินดีได้ไม่เพียงพอต่อร่างกาย ต่างจากผู้ที่มีผิวขาวที่จะสร้างวิตามินดีได้ดีกว่า สอดคล้องกับการศึกษาในกลุ่มคนผิวขาววัยหนุ่มสาวที่พบว่าเมื่อใส่ชุดกีฬาแขนสั้นขาสั้นออกกำลังกายกลางแจ้งโดยถูกแดดทั้งตัวแค่ 10-15 นาที ร่างกายจะได้รับวิตามินดีมากพอใช้ได้นาน 2-3 สัปดาห์

ภาวะกระดูกพรุนที่ทำให้หลังโค้งงอ
“แม้วิตามินดีส่วนใหญ่ในร่างกายจะได้จากแสงแดด แต่สำหรับผู้ที่กลัวแดดอาจรับประทานอาหารที่มีวิตามินดี เช่น ปลา หรือรับประทานวิตามินรวมที่มักมีวิตามินดีผสมอยู่วันละเม็ดก็น่าจะทดแทนได้เพียงพอแล้ว” ศ.นพ.บุญส่งเผย พลางอธิบายว่าส่วนผู้ที่ป่วยเป็นโรคกระดูกพรุนแล้วนั้นควรรับประทานยาที่มีประสิทธิภาพดีในการรักษาควบคู่กับการได้รับปริมาณแคลเซียมและวิตามินดีที่เพียงพอ

สำหรับผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อโรคนี้ควรได้รับการตรวจวัดมวลกระดูก โดยการวัดความหนาแน่นของกระดูกจะได้รับรังสีน้อยกว่าการเอกซเรย์ปอดด้วยซ้ำ หรืออาจจะตรวจสอบด้วยตนเองคร่าวๆ ด้วยการนำน้ำหนักตัวโดยใช้หน่วยกิโลกรัมลบด้วยอายุ คูณด้วย 0.2 หากผลลัพธ์น้อยกว่า -4 แสดงว่าอยู่ในข่ายโรคกระดูกพรุนแล้ว ทั้งนี้ส่วนมากมักเป็นผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป

“หากพบว่าตัวเองป่วยเป็นโรคกระดูกพรุนแล้ว ควรระมัดระวังตัวเองมากขึ้นเพื่อป้องกันการแตกหักของกระดูก โดยเฉพาะกระดูกบริเวณสะโพกจะแตกหักง่ายแม้กระทบเพียงเล็กน้อย เพราะถึงกระดูกจะพรุนแต่ก็ไม่ก่อปัญหาถ้าไม่แตกหัก ฉะนั้นควรจัดสภาพแวดล้อมภายในบ้านเพื่อป้องกันการหกล้ม เช่น กระเบื้องในห้องน้ำไม่เป็นชนิดลื่นและมีราวจับมั่นคง รวมทั้งต้องหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่จะทำให้เกิดการสูญเสียมวลกระดูกทั้งการดื่มสุราและใช้ยาที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์” รองคณบดีฝ่ายวิจัยเผย พลางย้ำว่าการลดโอกาสเสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคกระดูกพรุนระยะยาวนั้นต้องทำอย่างต่อเนื่อง ด้วยการออกกำลังกายสม่ำเสมอ ได้รับแคลเซียมและวิตามินดีในปริมาณเหมาะสมสัมพันธ์กัน

สธ.แนะพบจักษุแพทย์ตรวจจอประสาทตาก่อนเห็นริบหรี่

สธ.จัดโครงการตรวจคัดกรองโรคจอประสาทตาในผู้สูงอายุถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ระบุ โรคจอประสาทตาเสื่อมเป็นโรคของผู้สูงอายุ แนวโน้มคนไทยมีสิทธิเป็นโรคนี้เร็วขึ้น จากโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และการอยู่กลางแดดจัด แนะตรวจพบจักษุแพทย์ตั้งแต่ไม่มีอาการ หากรักษาตั้งแต่ระยะต้นๆ จะได้ผลดีกว่า

นายพินิจ จารุสมบัติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เป็นประธานเปิดโครงการ “ผู้สูงอายุไทย ห่างไกลโรคจอประสาทตา” เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในวันพระราชสมภพ 74 พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เพื่อค้นหาโรคจอประสาทตาในผู้สูงอายุ และส่งเสริมให้ผู้สูงอายุและประชาชนทั่วไปดูแลและถนอมดวงตาด้วยตนเอง โดยในวันนี้ (11 ส.ค.) ได้ให้บริการตรวจคัดกรองจอประสาทตาผู้สูงอายุด้วยเครื่องมือที่ทันสมัยฟรี พร้อมแจกแว่นตาให้ผู้สูงอายุ 300 คน

ในปีนี้ทางกระทรวงมีนโยบายให้โรงพยาบาลที่มีจักษุแพทย์ตรวจสายตาให้ผู้สูงอายุทุกปี และปัจจุบันมีผู้สูงอายุทั่วประเทศประมาณ 6 ล้านคน ทั้งนี้ การตรวจสายตาแต่เนิ่นๆ เพื่อป้องกันความพิการที่จะเกิดขึ้นกับดวงตา พร้อมกันนี้ ยังสามารถสังเกตความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ และให้คำแนะนำให้หลีกเลี่ยงภาวะเสี่ยงต่างๆ ช่วยชะลอหรือยืดความสามารถในการมองเห็นให้อยู่นานๆ

ด้าน นพ.ชาตรี บานชื่น อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า โรคจอประสาทตาเสื่อมในผู้สูงอายุเป็นการเสื่อมบริเวณจุดรับภาพของศูนย์กลางจอประสาทตา ซึ่งเป็นบริเวณที่ทำให้มองเห็นภาพชัดที่สุด โรคนี้ยังไม่รู้สาเหตุที่แท้จริง แม้โรคจะไม่ทำให้ตาบอดสนิท แต่ทำให้ภาพตรงกลางลดความชัดเจนลง ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตลดลง โดยไม่เกิดความเจ็บปวดต่อดวงตา

โรคจอประสาทตาเสื่อมในปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาให้หายขาด แต่การป้องกันและรักษาระยะแรกของโรคจะได้ผลดีมาก สิ่งที่เป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้จอประสาทตาเสื่อมที่สำคัญ ได้แก่ การสูบบุหรี่ ซึ่งบุหรี่จะทำให้เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงตาเสื่อมสภาพเร็ว เสี่ยงสายตาเสื่อมมากกว่าคนที่ไม่สูบถึง 2 เท่าตัว รวมทั้งผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ซึ่งเป็นโรคที่ทำให้เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ในร่างกายแข็งตัวผิดปกติ โดยดวงตาเป็นจุดที่มีเส้นเลือดไปเลี้ยงมากที่สุด ดังนั้น จึงต้องเร่งป้องกัน เนื่องจากคนไทยมีสิทธิเป็นโรคได้ก่อนอายุ 50 ปี โดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคเบาหวานเกิน 7 ปี หากคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ดี มีสิทธิที่โรคจะลุกลามขึ้นจอประสาทตา พบได้ร้อยละ 50

สาเหตุที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ การอยู่กลางแดดจัดและโดนแสงแดดจ้านานๆ ซึ่งในแสงแดดจะมีรังสีอัลตราไวโอเลต จะทำให้เนื้อเยื่อจุดรับภาพเสื่อมสภาพเร็วขึ้น ดังนั้น เมื่อต้องออกแดดจ้า จึงแนะนำให้ประชาชนใส่แว่นกันแดดเพื่อป้องกันสายตาเสื่อม การป้องกันไม่ให้เกิดโรคจอประสาทเสื่อม ขอแนะนำให้ประชาชนตรวจสุขภาพตากับจักษุแพทย์อย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้ตรวจพบโรคตั้งแต่เนิ่นๆ และมีโอกาสรักษาได้ผลดี ในกลุ่มผู้สูงอายุควรมีการออกกำลังกาย ควบคุมน้ำหนักตัว และรับประทานอาหารประเภทเนื้อปลา ช่วยให้เนื้อเยื่อประสาทตาเสื่อมช้าลง รวมทั้งการกินผักผลไม้สีต่างๆ ซึ่งมีสารต้านอนุมูลอิสระ และอาหารที่มีไขมันต่ำ เช่น แกงส้ม ต้มยำน้ำใส แกงเลียง ผักต้ม จะมีผลดีต่อการไหลเวียนของเลือดในลูกตา จะช่วยชะลอการเกิดโรคได้

ท้องผูกแก้ไขได้

“ท้องผูก” ไม่ใช่อาการร้ายแรงขนาดถึงกับต้องพึ่งพาแพทย์เพื่อช่วยบำบัดรักษา แต่ก็เป็นอาการที่ก่อปัญหาให้กับคนทุกเพศทุกวัย ท้องผูกเป็นอาการที่ถ่ายยาก เนื่องจากอุจจาระแข็ง ใช้เวลานานขึ้นกว่าจะถ่ายหรือไม่ถ่ายเลยเป็นเวลาอย่างน้อย 3 วันติดต่อกัน แต่ในบางคนที่ถ่ายทุกวัน ถ้าไม่ถ่ายเลยสักวันเจ้าตัวก็คือว่าท้องผูกแล้ว

ปกติแล้วอาการท้องผูกนั้นเป็นปัญหาชั่วคราวที่เกิดขึ้นได้กับทุกคนที่อาจมีการเปลี่ยนแปลงไปจากปกติในชีวิตประจำวัน เช่น การเดินทาง หรือรับประทานผักผลไม้ลดลง ดื่มน้ำน้อยลง สาเหตุเหล่านี้แก้ไขได้ไม่ยาก โดยการรับประทานอาหารที่มีกากใยสูง เช่น น้ำพรุนสกัด หรือลูกพรุนแห้ง มะขาม มะละกอ ส้ม เป็นต้น ในคนสูงอายุ เช่น 50 ปีขึ้นไป จะพบว่าอาการท้องผูกเป็นเรื่องปกติ เนื่องจากขาดการออกกำลังกายหรือเคลื่อนไหวน้อยลง รับประทานอาหารที่เคี้ยวง่าย ซึ่งมีกากใยอาหารน้อยลงและดื่มน้ำน้อยลง

อาการท้องผูก ไม่เพียงแต่สร้างความอึดอัดให้กับท่านเท่านั้น แต่ยังส่งผลให้สุขภาพของท่านเสื่อมตามไปด้วย เช่น โรคริดสีดวงทวาร ซึ่งพบในผู้สูงอายุถึง 50% ในจำนวนผู้ที่มีปัญหาท้องผูกเรื้อรัง และหากยิ่งปล่อยให้อาการท้องผูกรบกวนโดยไม่หาทางแก้ไข ผลที่ร้ายที่สุดที่จะตามมาถึงตัวท่านก็คือ ท่านจะเสี่ยงภัยต่อการเกิดมะเร็งลำไส้ที่สามารถคร่าชีวิตท่านได้

ในรายที่มีอาการท้องผูกรุนแรงมาก จะต้องประสบกับปัญหาการถ่ายยาก เพราะในขณะที่ขับถ่ายต้องใช้แรงเบ่งมากกว่าปกติ ทำให้เส้นเลือดบริเวณรอบๆ ทวารหนักพอกตัว เมื่ออุจจาระที่แข็งตัวเคลื่อนผ่านทวารหนัก ก็จะเกิดการเสียดสี ทำให้เป็นแผลเลือดออกได้ ซึ่งจะสร้างความเจ็บปวดทรมานยิ่งนัก ทำให้ยิ่งไม่อยากถ่าย ผลที่ตามมาก็คือทำให้ท้องผูกมากยิ่งขึ้น และในที่สุดก็จะนำไปสู่โรคริดสีดวงทวาร

กลเม็ดในการแก้ไขหรือบำบัดรักษาอาการท้องผูกนั้น มีดังนี้

1.เพิ่มอาหารที่มีกากใยสูง เช่น ธัญพืชไม่ขัดสี ซึ่งประกอบด้วยข้าวซ้อมมือ ถั่วต่างๆ เพิ่มผักผลไม้ต่างๆ
2.ดื่มเครื่องดื่มที่ร้อนๆ หรืออาหารร้อนๆ (แต่ไม่ถึงกับลวกปาก) ในตอนเช้า เพราะอาหารร้อนจะช่วยกระตุ้นลำไส้เคลื่อนไหวตัวได้มากขึ้น
3.ดื่มน้ำสะอาดให้มากกว่าที่เคยดื่มในแต่ละวัน คือ ประมาณวันละ 6-8 แก้ว เพื่อให้กากใยอาหารที่รับประทานเข้าไปสามารถทำงานได้ดีขึ้น

วิธีการดังกล่าวนี้ นับเป็นการแก้ไขปัญหาอาการท้องผูกที่ได้ผล ปลอดภัย และยังได้สารอาหารที่มีประโยชน์จากผักผลไม้และธัญพืช แต่ข้อสำคัญการเพิ่มกากใยอาหารอย่าเพิ่มอย่างผลีผลาม ควรเพิ่มอย่างค่อยเป็นค่อยไป

ผักผลไม้และธัญพืชโดยทั่วไปมีเส้นใยอาหาร 2 ชนิดด้วยกัน คือ เส้นใยชนิดที่ไม่ละลายน้ำ และชนิดที่ละลายน้ำ โดยชนิดไม่ละลายน้ำจะให้ผลในการขับถ่ายและขจัดของเสียออกจากร่างกาย ขณะที่ชนิดที่ละลายน้ำมีบทบาทสำคัญในการลดคอเลสเตอรอล และการทำงานของเส้นใยอาหารจะต้องอาศัยน้ำจึงจะทำงานได้ดี

ผักและผลไม้ที่มีกากใยมากและเป็นที่รู้จักกันดีมีหลายชนิดด้วยกัน อาทิ พรุน มะขาม ส้ม มะละกอ ผักคะน้า ผักกวางตุ้ง ผักโขม ข้าวกล้อง ข้าวโอ๊ต ฯลฯ เส้นใยอาหารที่อยู่ในผักผลไม้เหล่านี้ ร่างกายไม่สามารถย่อยได้ เมื่อย่อยไม่ได้ร่างกายก็จะขับถ่ายออกมาพร้อมกับของเสียอื่นๆ จึงทำให้ขับถ่ายได้สะดวก ไม่มีปัญหาของเสียคั่งค่างในร่างกาย ลดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ขจัดสารพิษที่ตกค้างในลำไส้ออกจากร่างกายได้เร็วขึ้น ป้องกันโรคลำไล้ใหญ่อักเสบ โรคมะเร็งในลำไส้ใหญ่และลดปัญหากลิ่นปากจากท้องผูก เป็นต้น

ในบรรดาผลไม้ไทยและเทศที่มีกากใยสูงติด 5 อันดับแรกได้แก่ พรุน มะเดื่อแห้ง มะขามหวาน แอปเปิ้ล และส้ม สำหรับพรุนและมะขามหวานได้ชื่อว่าเป็นผลไม้ที่มีฤทธิ์เป็นยาระบายตามธรรมชาติที่สามารถแก้ไขอาการท้องผูกได้ดียิ่งนัก พรุนเป็นผลไม้ที่ให้ผลทางด้านโภชนบำบัดสำหรับคนที่มีปัญหาทางระบบขับถ่าย ริดสีดวงทวารและโรคระบบทางเดินอาหาร เช่น โรคลไส้โป่ง ส่วนในเด็กเล็กที่ท้องผูกอาจใช้น้ำพรุนในอัตรา 1 ต่อ 1 ให้ดื่ม ช่วยระบายท้องให้ถ่ายสะดวกขึ้น แต่ถ้าหากเป็นน้ำพรุนสกัดที่เข้มข้นก็จะต้องเจือจางกับน้ำมากขึ้น ส่วนพรุนแห้งอาจต้องระวังในเรื่องปริมาณที่รับประทาน เนื่องจากมีปริมาณน้ำตาลค่อนข้างเข้มข้น หากรับประทานมากๆ และบ่อยๆ ก็จะเพิ่มแคลอรี่ให้กับผู้ใหญ่ที่ปัญหาเรื่องน้ำหนักตัวเกินได้

นอกจากการรับประทานอาหารที่มีกากใยสูง และดื่มน้ำมากขึ้นแล้ว ก็ควรออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพราะการออกกำลังกายจะช่วยให้กล้ามเนื้อในระบบย่อย และขับถ่ายทำงานดีขึ้น

สำหรับบางท่านที่มีอาการท้องผูกรุนแรงมากเป็นพิเศษที่อาจต้องใช้ยาระบายช่วย ก็ควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาระบายนั้น เพราะหากมีการใช้ยาติดต่อกันเป็นเวลานานอาจทำให้ตกเป็นทาสยาถ่าย หรือเกิดปัญหาอื่นตามมาได้

วิตามินเอ

วิตามินเอ ประกอบด้วยสารเรตินอลและแคโรทีน เรตินอลมักพบในอาหารที่มาจากสัตว์เท่านั้น เช่น เนื้อสัตว์ นม เนย ไข่ ตับ น้ำมันตับปลา เรตินอลจะช่วยให้ร่างกายใช้วิตามินเอได้ทันที ส่วนรูปแบบของวิตามินเอที่พบในพืชจะเรียกว่า เบต้าแคโรทีน ซึ่งจะถูกเปลี่ยนเป็นวิตามินเอในร่างกาย พบมากในผักและผลไม้ที่มีสีเหลือง ส้ม แสด แดง เช่น แครอท ฟักทอง มะละกอสุก และผักใบเขียวเข้ม เช่น ตำลึง ผักบุ้ง กวางตุ้ง บร็อคโคลี่

วิตามินเอทนกรด ด่าง และความร้อนได้ดีพอสมควร ในการประกอบอาหาร เช่นการทำอาหารกระป๋อง วิตามินเอจะถูกทำลายไปเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่การแช่แข็งอาจลดปริมาณวิตามินเอในอาหาร

วิตามินเอเป็นสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายหลายประการ ได้แก่

- ช่วยในการมองเห็นในที่มืด

- ช่วยบำรุงรักษาเซลล์ชนิดบุผิวให้ชุ่มชื้นอยู่ตลอดเวลา เช่น เยื่อบุตาขาว เยื่อบุทางเดินหายใจ เยื่อบุทางเดินอาหาร เยื่อบุทางเดินปัสสาวะ และเยื่อบุหูชั้นกลาง เป็นต้น

- ช่วยในการสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง

- ช่วยให้ระบบสืบพันธุ์ทำงานได้ตามปกติ เช่น การสร้างตัวอสุจิในผู้ชายและระบบประจำเดือนของผู้หญิง และจำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์

- ช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายแข็งแรง

- เบต้าแคโรทีนทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระซึ่งเป็นต้นเหตุให้เกิดโรคมะเร็ง และความผิดปกติของไขมันในร่างกาย ซึ่งทำให้หลอดเลือดแดงแข็งตัว

แต่เดิม วิตามินเอมีหน่วยเป็นหน่วยสากล (International Units หรือ IU) ต่อมาได้กำหนดหน่วยวิตามินเอเป็น Retinal Equivalents (RE) อย่างไรก็ตาม ผลิตภัณฑ์วิตามินเอบางชนิดก็ยังใช้หน่วย IU เหมือนเดิม

คนทั่วไปต้องการวิตามินเอวันละประมาณ 800-1,000 RE แต่ภาวะบางอย่างอาจทำให้ร่างกายต้องการวิตามินเอเพิ่มขึ้น ได้แก่ ภาวะท้องร่วง โรคตา โรคลำไส้ การติดเชื้อเป็นเวลานาน โรคหัด โรคตับอ่อน การผ่าตัดเอากระเพาะอาหารออกบางส่วน ความเครียดแบบต่อเนื่อง การรับประทานยาคุมกำเนิด ทารกที่ได้รับนมชนิดที่ไม่ถูกต้อง เป็นต้น

ผลของการขาดวิตามินเอ

การขาดวิตามินเออาจนำไปสู่ภาวะตาบอดกลางคืน หรือปัญหาการมองเห็นในที่มืด รวมทั้งทำให้ตาแห้ง ตาติดเชื้อ
ผิวหนังจะแห้ง หนาขึ้น และหยาบเป็นเกล็ด ผมและขนจะแห้งและร่วง เล็บเปราะ นอกจากนี้จะทำให้เกิดความผิดปกติของเซลล์ชนิดบุผิวของอวัยวะต่าง ๆ เช่น

- ระบบทางเดินหายใจ อาจมีการอักเสบในช่องจมูก ช่องปาก ต่อมน้ำลาย เจ็บคอบ่อยๆ หูอักเสบ การอักเสบเหล่านี้จะเป็นๆ หายๆ เพราะเยื่อบุอวัยวะเหล่านี้แห้งตายหรือสลายตัว ทำให้เกิดการติดเชื้อโรคได้ง่าย

- ระบบทางเดินอาหาร อาจทำให้ปาก คอ ลิ้น และเหงือกอักเสบ เป็นแผลที่กระเพาะอาหารและลำไส้ได้ง่าย อาจมีอาการท้องร่วง
- ระบบปัสสาวะ มักมีการติดเชื้อที่ทางเดินปัสสาวะ เกิดปฏิกิริยาทำให้ปัสสาวะเปลี่ยนเป็นด่าง ซึ่งเป็นต้นเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดนิ่วในไตและกระเพาะปัสสาวะ

การขาดวิตามินเอยังทำให้การเจริญเติบโตช้าลง กระดูกจะหนา ใหญ่ และหมดสมรรถภาพในการโค้งงอ ส่วนฟันนั้นจะมีการลอกหลุดของเคลือบฟัน เหลือแต่เนื้อฟัน ทำให้ฟันผุได้ง่าย
นอกจากนี้ยังเจ็บป่วยง่ายเนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันโรคต่ำ ง่ายต่อการแพ้สิ่งต่างๆ เบื่ออาหาร ความรู้สึกรับรสและกลิ่นไม่ดี

ผลของการได้รับวิตามินเอมากเกินไป

โดยปกติแล้ว วิตามินเอมักจะไม่ทำให้เกิดผลข้างเคียงใดๆ เมื่อใช้ตามปริมาณที่แนะนำ อย่างไรก็ตาม การได้รับวิตามินเอในปริมาณสูงอาจเกิดการสะสมในร่างกายและเป็นพิษได้ใน 2 ลักษณะ คือ

- พิษเฉียบพลัน เกิดขึ้นเมื่อได้รับในปริมาณสูงมากๆ เช่น รับประทานตั้งแต่ 1 ล้านหน่วยหรือมากกว่า อาการสำคัญคือปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน มึนงง ง่วงนอน อ่อนเพลีย มองเห็นภาพซ้อน กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน ถ้าได้รับวิตามินเอในปริมาณที่สูงกว่านี้มากๆ อาจถึงแก่ความตายได้ เพราะระบบหัวใจไม่ทำงาน

- พิษเรื้อรัง เกิดจากการรับประทานวิตามินเอวันละประมาณ 1 แสนหน่วยเป็นเวลานาน มักพบในคนไข้โรคผิวหนังที่ได้รับการรักษาด้วยวิตามินเอปริมาณมากติดต่อกันเป็นเวลานาน อาการสำคัญ คือ เวียนศีรษะ ผิวหนังหยาบกร้าน เป็นขุย และคัน ผมร่วง เล็บเปราะ ริมผีปากแห้งแตก เหงือกอักเสบ ปวดข้อกระดูกและข้อต่อ หากหยุดรับประทานวิตามินในปริมาณมากๆ อาการก็จะหายไป

หญิงตั้งครรภ์ที่รับประทานวิตามินเอในปริมาณสูงถึงวันละ 25,000 IU (7,500 RE) เป็นเวลานาน อาจทำให้ทารกในครรภ์มีความผิดปกติ พิการ หรือแท้งได้

ผู้ที่ได้รับแคโรทีนในปริมาณสูง จะทำให้ผิวหนังบริเวณร่องจมูก ฝ่ามือและฝ่าเท้ามีสีเหลือง เนื่องจากแคโรทีนถูกขับออกมาจากต่อมน้ำมันของผิวหนัง ต่างจากโรคดีซ่านคือตาจะไม่เหลือง อาการดังกล่าวจะหายไป เมื่องดบริโภคอาหารที่มีแคโรทีนสูง

ผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้ เป็นโรคติดสุราหรือเคยมีประวัติ เป็นโรคตับ โรคไต หรือรับประทานยาประจำตัว หากจะรับประทานอาหารเสริมวิตามินเอ ควรปรึกษาแพทย์ก่อน เพราะการใช้วิตามินเออาจมีผลต่อโรคที่เป็นอยู่

วิตามินเอถูกทำลายได้ง่ายเมื่อได้รับความร้อนสูงมากๆ ในอากาศ แสงแดด และในไขมันที่เหม็นหืน จึงควรเก็บใส่ขวดสีน้ำตาล อย่าเก็บในห้องน้ำ ใกล้อ่างล้างจานในครัว หรือบริเวณที่เปียกชื้น เพราะความร้อนหรือความชื้นอาจทำให้อาหารเสริมเสื่อมสภาพได้

วันจันทร์, กรกฎาคม ๐๓, ๒๕๔๙

บำรุงหัวใจ ด้วย สารสกัดจากเมล็ดองุ่น


สารสกัดจากเมล็ดองุ่น เป็นสารประเภท ไบโอฟลาโวนอยด์ มีสารที่สำคัญหลายตัว เป็น กลุ่มของโปรแอนโทรไซยานิดิน ( Proanthocyanidin หรือมีอีกชื่อว่า พีซีโอ ( PCO: Procyanidolic Oligomers ) มีประสิทธิภาพต้านอนุมูลอิสระแรงที่สุด จนได้ชื่อว่า ซุปเปอร์แอนตี้ออกซิแดน สาร พีซีโอตัวนี้มีมากที่สุดในเมล็ดองุ่น และใน เบอร์เบอรี่ เชอรี่ พลัม ถั่วและผักบางชนิด ประวัติการค้นพบสารสกัดจากเมล็ดองุ่น มาจาก การค้นพบทางการแพทย์ที่พบว่าคนที่ดื่มไวน์แดงเป็นประจำจะมีโอกาสเป็นโรคหัวใจ และมีอัตราตายจากโรคหัวใจ น้อยกว่าผู้อื่น ในครั้งแรกคิดว่าเป็นผลจากแอลกอฮอล์ ต่อมาจึงพบว่าส่วนใหญ่เป็นผลจากสารสกัดในเมล็ดองุ่น . ( อ้างอิงที่ 1 )

ประโยชน์
1. ลดการสะสมของโคเลสเตอรอลต่อผนังเส้นเลือด ทำให้เส้นเลือด ไม่ตีบตัน ลดการอุดตันของเส้นเลือด ( อ้างอิงที่ 2,4)
2. มีผลต่อกล้ามเนื้อหัวใจ โดยทำให้กล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรง และทนทานต่อภาวะการขาดเลือด และลดการเต้นผิดจังหวะ มีผลทำให้ลดอัตราตายจากโรคหัวใจ ( อ้างอิงที่ 3 )
3. มีผลยับยั้งเซลล์มะเร็งหลายชนิด เช่น ปอด กระเพาะอาหาร มะเร็งต่อมลูกหมาก และมะเร็งเต้านมในคน ( อ้างอิงที่4- 6 )
4. สามารถป้องกันเซลล์มะเร็งในช่องปาก จมูก หลอดอาหารในกลุ่มประชากรที่เคี้ยวใบชา ซึ่ง เสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งชนิดนี้ ( อ้างอิงที่ 7)

การทานผักและผลไม้ที่มี เบต้าคาโรทีน วิตามิน ซี วิตามิน อี สูงสามารถที่จะลดอุบัติการการเป็นมะเร็งเต้านม และมะเร็งปอด และยังลด อุบัติการของโรคหัวใจขาดเลือด ทั้งหมดนี้มีงานวิจัยสนับสนุนในประชากรนับหมื่นคน ( อ้างอิงที่ 8-10 12-13,16 )

กล่าวโดยสรุปแล้วสารต้านอนุมูลอิสระ มีผลดีต่อร่างกาย เป็นสารธรรมชาติที่ช่วยชะลอการแก่ และลดมะเร็งต่าง ๆ และลดอุบัติการโรคหัวใจขาดเลือดได้จริง มีมากในผักและผลไม้หลายชนิด ซึ่งอาจจะหารับประทานได้ไม่ยาก

เอกสารอ้างอิง
1. Grape seed proanthocyanidins improved cardiac recovery during reperfusion after ischemia in isolated rat hearts. Am J Clin Nutr 2002 May;75(5):894-9 2002;75(5):894-9.
2. Proanthocyanidin-rich extract from grape seeds attenuates the development of aortic atherosclerosis in cholesterol-fed rabbits. Atherosclerosis 1999;142(1):139-49.
3. Grape seed proanthocyanidins improved cardiac recovery during reperfusion after ischemia in isolated rat hearts. Am J Clin Nutr 2002 May;75(5):894-9 2002;75(5):894-9.
4. Free radicals and grape seed proanthocyanidin extract: importance in human health and disease prevention. Toxicology 2000 Aug 7;148(2-3):187-97 2002;148(2-3):187-97.
5. Anticarcinogenic effect of a polyphenolic fraction isolated from grape seeds in human prostate carcinoma DU145 cells: modulation of mitogenic signaling and cell-cycle regulators and induction of G1 arrest and apoptosis. Mol Carcinog 2000 Jul;28(3):129-38 2002;28(3):129-38.
6. A polyphenolic fraction from grape seeds causes irreversible growth inhibition of breast carcinoma MDA-MB468 cells by inhibiting mitogen-activated protein kinases activation and inducing G1 arrest and differentiation. Clin Cancer Res 2000 Jul;6(7):2921-30 2002;6(7):2921-30.
7. Protective effects of antioxidants against smokeless tobacco-induced oxidative stress and modulation of Bcl-2 and p53 genes in human oral keratinocytes. Free Radic Res 2001 Aug;35(2):181-94 2002;35(2):181-94.
8. Intake of vitamins E, C, and A and risk of lung cancer. The NHANES I epidemiologic follow-up study. First National Health and Nutrition Examination Survey. Am J Epidemiol 1997;146(3):231-43.
9. Dietary carotenoids and vitamins A, C, and E and risk of breast cancer. J Natl Cancer Inst 1999;91(6):547-56.
10. Dietary antioxidants and risk of myocardial infarction in the elderly: the Rotterdam Study. Am J Clin Nutr 1999;69(2):261-6.

บำรุงสายตา


สาร ลูทีนและซีแซนทีน เหมาะกับผู้ใช้สายตามาก ผู้สูงอายุ ผู้ที่ทำงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ หรืออยู่กับแสงสว่างจ้า กลางแดด ผู้ที่ต้องขับรถกลางคืนบ่อย ๆ ผู้ที่โดนแฟลช ดูทีวีมากและนาน ผู้ป่วยเบาหวาน โรคหัวใจ มะเร็งเต้านม


ประโยชน์ โดยสรุปของสาร ลูทีนและซีแซนทีนที่มีงานวิจัยมีดังนี้คือ


ช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคต้อกระจก และโรคจอตาเสื่อม ( AMD ) มะเร็งเต้านมและโรคหลอดเลือดหัวใจ
รายละเอียดดังนี้


ลูทีน (Lutein) และซีแซนทีน (Zeaxanthin) เป็นสารธรรมชาติจัดอยุ่ในกลุ่มของสารรงควัตถุที่มีสีในตระกูลของสาร แคโรทีนอยด์ แต่มีความแตกต่างจากคาโลทีนอยด์ชนิดอื่นตรงที่จะไม่เปลี่ยนไปเป็นวิตามิน เอ ลูทีน และซีแซนทีน มีในเนื้อเยื่อของร่างกายมนุษย์หลายจุดด้วยกัน ส่วนของร่างกายที่มีสาร ลูทีน และซีแซนทีน ได้แก่ในลูกตา คือ ที่เลนส์ตา และจอรับภาพของตา คือเรติน่า ตรงตำแหน่ง จุดรับภาพของลูกตา ( Macula ) ซึ่งเป็นตำแหน่งที่สำคัญที่สุดในจอตาเรติน่าเพราะเป็นจดุที่รูปภาพและแสงส่วนมากจะมาตกบริเวณนี้ เป็นส่วนที่จอตารับภาพได้ชัดที่สุดนั่นเอง ในธรรมชาติแล้วแม้จะมีแคโรทีนอยด์มากกว่า 600 ชนิด แต่มีเพียง 20 ชนิดเท่านั้นที่พบในมนุษย์ และมีเพียง 2 ชนิดเท่านั้นที่พบในจุดรับภาพของลูกตา ( Macula ) คือ ลูทีน ( Lutein ) และ ซีแซนทีน ( Zeaxanthin ) ในจอตาทั้งคู่ทำหน้าที่
: ช่วยกรองหรือป้องกันรังสีจากแสงแดดที่เป็นอันตรายต่อดวงตา
: ช่วยปกป้องเซลล์ของจอประสาทตาไม่ให้ถูกทำลายโดยการลดอนุมูลอิสระและกรองแสงสีน้ำเงินที่จะทำลายดวงตา


นอกจากนี้ ลูทีน และซีแซนทีน ยังพบได้ใน ตับ ตับอ่อน ไต ต่อมหมวกไต และเต้านมแต่ก็เป็นสารที่ร่างกายสังเคราะห์เองไม่ได้ ร่างกายของเราจะได้รับสารนี้ก็ต่อเมื่อรับประทานพืชผักที่มีสารนี้เท่านั้น แต่สารซีแซนทีนนอกจากจะได้จากอาหารส่วนหนึ่งแล้ว ร่างกายสามารถเปลี่ยนสารลูทีนในตาไปเป็นสารซีแซนทินได้ พืชผักที่มีสาร ลูทีน และซีแซนทีน โดยมากมักจะเป็นผัก ผลไม้ ที่มีสีเหลืองและสีเขียวเข้ม เช่น ข้าวโพด ผักกาด ผักปวยเล้ง คะน้า ผักโขม


ลูทีนและซีแซนทีน มีประโยชน์ในโรคหลายชนิดด้วยกัน ที่สำคัญคือ โรคต้อกระจก และโรคโรคจุดรับภาพเสื่อม โรคหัวใจและหลอดเลือด และช่วยลดอุบิตการณ์ในโรคมะเร็ง บางชนิด


โรคต้อกระจก ( Cataracts )
คือภาวะที่กระจกตา หรือเลนส์ตาขุ่นทำให้แสงไม่สามารถผ่านเข้าไปในตาได้ตามปกติ ตาจะมัวมากน้อยขึ้นอยู่กับต้อกระจกขุ่นมากน้อยแค่ไหน ต้อกระจกไม่ใช่โรคติดต่อ แต่อาจเป็นพร้อมกันทั้งสองตา ต้อกระจกจะค่อย ๆ ขุ่นไปอย่างช้า ๆ ใช้เวลาเป็นปี ๆ ต้อกระจกไม่ใช่โรคมะเร็ง ต้อกระจกสามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัด การผ่าตัดลอกต้อกระจกขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละคนโดยจักษุแพทย์จะเป็นผู้ให้คำแนะนำ และเลือกวิธีการผ่าตัดให้ได้ดีที่สุด


สาเหตุหลัก คือ การเปลี่ยนแปลงของส่วนประกอบของเลนส์ตา ทำให้เลนส์ขุ่น และนิวเคลียสแข็งขึ้น พบการเปลี่ยนแปลงนี้ในผู้สูงอายุ พบบ่อยตั้งแต่อายุ 50 ปีขึ้นไป สาเหตุอื่น เช่น จากกรรมพันธุ์ จากอุบัติเหตุตา จากการติดเชื้อ จากการติดเชื้อในครรภ์มารดา ถ้าพบตั้งแต่เกิดก็เรียกว่า “ต้อกระจกแต่กำเนิด” เช่นในเด็กที่เกิดหลังจากมารดาติดหัดเยอรมันระหว่างตั้งครรภ์ ในคนที่เป็นเบาหวานพบว่าเป็นต้อกระจกเร็วกว่าคนธรรมดาอย่างมาก ตาปกติเลนส์ตาจะใส และปล่อยให้แสงผ่านไปได้ แต่เมื่อเป็นต้อกระจก เลนส์ตาจะขุ่นแสงผ่านเข้าไม่ได้ เมื่อเริ่มเป็นต้อกระจก ผู้ป่วยจะรู้สึกตาข้างนั้นมัวคล้ายมองผ่านหมอก อาจมองเห็นภาพซ้อน ขับรถตอนกลางคืนลำบากขึ้น เมื่อต้อกระจกเป็นมากขึ้น จะสามารถสังเกตเห็นต้อสีขาวที่ม่านตาได้


การตรวจวินิจฉัย เมื่อมีอาการตามัวควรไปรับการตรวจจากจักษุแพทย์ ต้อกระจกจะทำให้สายตามัวไปทีละน้อย เมื่อต้อสุกจะมองเห็นแต่มือไหว ๆ หรือเห็นเพียงแสงไฟเท่านั้น


โรคจุดรับภาพเสื่อม( Age-Related Macula Degenerationหรือ AMD )
เกิดจากการเสื่อมของจุดรับภาพ (Macular) ซึ่งเป็นกลางจอตา (Retina) ทำให้การมองเห็นภาพเบลอ บิดเบี้ยวบางครั้งอาจรุนแรงขนาดเห็นจุดดำมาบังภาพอยู่ตลอดเวลาอาจมีสาเหตุมาจาก
- ปัจจัยทางธรรมชาติที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้เช่น การเสื่อมสภาพของดวงตาเมื่ออายุเพิ่มขึ้น หรือการถ่ายทอดผ่านทางกรรมพันธุ์จากบรรพบุรุษ
- ปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ เช่น
: การเผชิญแสงแดดจ้า ทำให้ดวงตาได้รับรังสี UV โดยตรง
: การมีพฤติกรรมชอบบริโภคอาหารที่มีไขมันและคอเรสเตอรอลสูง เพราะอาหารประเภทนี้อุดมไปด้วยอนุมูลอิสระที่จะไปทำลายเนื้อเยื่อในร่างกายให้เสื่อมสภาพได้ รวมถึงการขาดสารอาหารบางชนิด
: การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์สูงเนื่องจากเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์จะเป็นตัวเร่งให้เกิดความเสื่อมของเซลล์ในร่างกาย
: การสูบบุหรี่ เพราะควันในบุหรี่มากไปด้วยอนุมูลอิสระที่จะไปทำลายเซลล์ในตา
- ปัจจัยที่เกิดจากอาการเจ็บป่วยของโรคอื่น เช่นโรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน ก็มีส่วนเนื่องจากโลหิดในตาเสื่อมลง จึงส่งผลให้หลอดเลือดฝอยของจอประสาทตารั่วซึมหรือแตกง่าย


ลูทีนและซีแซนทีน กับโรคต้อกระจก
กลไกของการที่ ลูทีน และซีแซนทีน ช่วยลดหรือป้องกัน หรือชะลอการเกิดต้อกระจกได้นั้นเป็นเพราะ เป็นคุณภาพของสารเองที่จะลดกลไกการเกิดความเสื่อม ของโรคต้อกระจกโดยตรง ( อ้างอิงที่ 1) นอกจากนี้ก็ยังพบว่าทั้ง ลูทีน และซีแซนทีน ต่างก็มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสสระ ซึ่งสามารถลดความเสี่ยงในโรคทึ่เกิดจากการมีสารอนุมูลอิสสระสูงได้ ( อ้างอิงที่ 2,3) มีการค้นพบที่ชัดเจนว่า การได้รับแสงเป็นประจำได้ก่อให้เกิดการสร้างอนุมูลอิสสระใน กระจกตาและจอตาได้จริง มีผลทำให้เกิดออกซิเดชั่นของโปรตีนและไขมันในเลนส์ตา ทำให้ไปในทิศทางของความเสื่อมของเลนส์ตาและก่อให้เกิดต้อกระจกในผู้สูงอายุได้ ( อ้างอิงที่ 4) จึงเป็นเหตุผลที่ชัดเจนว่าทำไมสารลูทีน และซีแซนทีน จึงสามารถลดความเสี่ยงของโรคต้อกระจกและโรคของจอตาคือโรค โรคจุดรับภาพเสื่อม ซึ่งมีกลไกการเกิดโรคจากความเสื่อมและอนุมูลอิสสระได้เช่นกัน ในเรื่องของต้อกระจก ได้มีการวิจัยวัดความขุ่นของเลนส์ตา ระดับของลูทีน และซีแซนทีน ในกระแสเลือด ในกลุ่มผู้สูงอายุต่างๆ พบว่า การมีระดับ ของลูทีน และซีแซนทีน ในกระแสเลือดสูงจะผกผันกับความขุ่นของเลนส์ตาในผู้สูงอายุ เป็นการวิจัยของจักษุแพทย์ และผู้วิจัยสรุปว่า ลูทีน และซีแซนทีน น่าจะลดการเกิดความเสื่อมของเลนส์ตาในผู้สูงอายุได้จริง ( อ้างอิง ที่ 5) ยังมีการวิจัยว่าการรับประทานลูทีน ในปริมาณสูง เพิ่มความสามารถในการมองเห็น ของผู้ป่วยที่เป็นต้อกระจกไปแล้ว การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยที่ดีมาก และทำการทดลองเป็นเวลานานถึงสองปีทีเดียว ( อ้างอิง ที่ 6 ) การวิจัยที่ยิ่งใหญ่ถึงคุณประโยชน์ของลูทีน และซีแซนทีน ทำในอเมริกา สองงานวิจัย งานวิจัยแรกทำที่ Harvard School of Public Health, Boston ในผู้ชาย 36,644 คน ที่ได้รับอาหารเสริมและวิตามินต่างๆ พบว่ากลุ่มที่ได้รับอาหารเสริม เป็น ลูทีน และซีแซนทีน จะลดความเสี่ยงของโรคต้อกระจกถึง 19% ( อ้างอิงที่ 7 ) และอีกงานวิจัยทำที่ University of Massachusetts ทำในสุภาพสตรี ถึง 50, 461 คน เป็นการวิจัยทำนองเดียวกัน แต่ทำในผู้หญิงเท่านั้นพบว่า ลูทีน และซีแซนทีน จะลดความเสี่ยงของโรคต้อกระจกถึง 22% ( อ้างอิงที่ 8 )นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่ทำที่ University of Wisconsin-Madison Medical School ในผู้สูงอายุ 43-84 ปี จำนวน1,354 คน พบว่า ลดอุบัติการณ์ของ ต้อกระจกที่เกิดตรงกลางเลนส์ ( nuclear cataracts ) ได้ประมาณ 50% ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงมาก ( อ้างอิงที่ 9 ) เนื่องจากมีงานวิจัยที่ชัดเจนมากมายถึงขนาดนี้จึงเป็นที่ยอมรับว่า ลูทีน และซีแซนทีนลดอุบัติการณ์โรคต้อกระจกในผู้สูงอายุได้จริง


ลูทีน และซีแซนทีน กับโรคจุดรับจอภาพเสื่อม
นอกจาก ลูทีนและซีแซนทีน จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต้อกระจกแล้ว ยังพบว่ามีประโยชน์ในโรคโรคจุดรับภาพเสื่อม ซึ่งมีหลายๆการศึกษาสนับสนุนข้อมูลดังกล่าว โดยพบว่า ถ้าปริมาณ Lutein & Zeaxanthin ในลูกตาลดน้อยลง จะพบความเสี่ยงมากขึ้นในเป็นโรคโรคจุดรับภาพเสื่อม ( อ้างอิงที่ 10 ) และความเสี่ยงในการเป็นโรคโรคจุดรับภาพเสื่อม จะลดลง หากมีปริมาณ Lลูทีนและซีแซนทีน ในเลือดสูงขึ้น ( อ้างอิงที่ 11,12 ) แสดงให้เห็นว่า การบริโภค อาหารที่มีลูทีนและซีแซนทีน สามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคได้


ลูทีน กับมะเร็งเต้านม
ในการวิจัยของพยาบาล Nurse’s Health Study, Zhang และคณะ . พบว่ามีคนที่บริโภคอาหารที่มี ลูทีนและซีแซนทีน ปริมาณมากอาจลดอุบัติการณ์ของโรคมะเร็งเต้านมในสตรีช่วงหมดประจำเดือน ได้อย่างมีนัยสำคัญ แม้ว่า เปอร์เซนต์การลดอุบัติกาณ์จะไม่มากนัก แต่ก็น่าสนใจอย่างยิ่ง ( อ้างอิงที่ 13) ในทำนองที่สอดคล้องกัน ก็มีผู้วิจัยพบว่า ลูทีน ลดอุบัติการณ์มะเร็งเต้านมได้จริงในสตรีกลุ่มที่มีความเสี่ยงคือมีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม (อ้างอิงที่ 14) ที่เป็นเช่นนี้อธิบายได้จากกลไกของตัว ลูทีนเอง เพราะพบว่า สาร ลูทีนมีคุณสมบัติยังยั้งการก่อมะเร็งได้ด้วยกลไกหลายชนิด เช่น มีผลต่อการเกิด mutagens 1-nitro pyrene and aflatoxin B1 ( อ้างอิงที่ 15,16) และมีผลต่อยีนที่มีผลต่อ T-cell transformations (อ้างอิงที่ 17)


ลูทีน ซีแซนทีน กับโรคหลอดเลือดหัวใจ
โรคหลอดเลือดหัวใจ สาเหตุหลักมักเกิดจากการที่เส้นเลือดมีการหนาตัวตีบแคบลง จากการมีตะกอน (ทางการแพทย์เรียกว่า พล๊าค ( Plaque ) ในผนังเส้นเลือด ทำให้เส้นเลือดตีบแคบทั่วไป เพียงแต่บริเวณที่สำคัญที่ต้องการเลือดมากที่สุดตลอดเวลาคืออวัยวะที่ไม่มีการหยุดพัก คือหัวใจ เป็นจุดที่เกิดปัญหาได้ก่อน ทำให้มีการขาดเลือดไปเลี้ยงหัวใจ ผู้ป่วยมักมีอาการเจ็บแน่นหน้าอก อาจมีหัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือกล้ามเนื้อหัวใจตายจนหัวใจวาย หรือหัวใจหยุดเต้นและถึงแก่กรรมโดยฉับพลันได้ บางรายอาการทางหัวใจไม่มาก แต่เมื้อหัวใจเต้นผิดจังหวะนานๆ ก็อาจจะทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ มีอัมพาตแขนขาอ่อนแรง หรืออัมพาตครึ่งซีก ตามมาได้ สาเหตุที่สำคัญที่ก่อให้เกิดพล๊าคในผนังเส้นเลือดคือภาวะไขมันในเลือดสูงและมีสารอนุมูลอิสสระในผนังเส้นเลือด ก่อให้เกิดการแทรกซึมของไขมันโคเลสเตอรอลลงไปสะสมในผนังเส้นเลือดทำให้เกิดพล๊าคและมีการตีบตันได้ งานวิจัยพบว่า ลูทีน สามารถลดกลไกการเกิดพล๊าคดังกล่าวได้ ( อ้างอิงที่ 18 ) พบว่าในผู้ที่บริโภคอาหารที่มีลูทีนสูงจะลดอัตราการเป็นโรคหัวใจขาดเลือด และโรคหลอดเลือดตีบในสมองอย่างมีนัยสำคัญ ( อ้างอิงที่ 19,20)


กล่าวโดยสรุป ลูทีนและซีแซนทีน จึงเป็นสารอาหารธรรมชาติที่มีคุณประโยชน์เป็นที่เชื่อถือได้ ในหลายโรคด้วยกัน มีความปลอดภัย และเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้บริโภค


เอกสารอ้างอิง


1. The Body of Evidence to Support a Protective Role for Lutein and Zeaxanthin in Delaying Chronic Disease. Overview The American Society for Nutritional Sciences J. Nutr. 132:518S-524S, 200
2. Antioxidant and prooxidant properties of carotenoids. Arch. Biochem. Biophys. 385:20-27
3. Biochim. Biophys. Acta 1991;1068:68-72
4. Ocular photosensitization. Photochem. Photobiol. 1986;46:1051-1055
5. Lens aging in relation to nutritional determinants and possible risk factors for age-related cataract. Arch Ophthalmol. 2002 Dec;120(12):1732-7.
6. Lutein, but not alpha-tocopherol, supplementation improves visual function in patients with age-related cataracts: a 2-y double-blind, placebo-controlled pilot study. Nutrition. 2003 Jan;19(1):21-4
7. A prospective study of carotenoid intake and risk of cataract extraction in U.S. men. Am. J. Clin. Nutr. 1999; 70:517-524.
8. A prospective study of carotenoid and vitamin A intake and risk of cataract extraction among U.S. women. Am. J. Clin. Nutr. 1999;70:509-516.
9. Antioxidant intake and risk of incident age-related nuclear cataracts in the Beaver Dam Eye Study. Am J Epidemiol. 1999 May 1;149(9):801-9.
10. The macular pigment: a possible role in protection from age-related macular degeneration. Adv Pharmacol 38:537-56
11. Antioxidant status and neovascular age-related macular degeneration. Arch Opthamol 111:104-9
12. Dietary carotenoids, vitamin A, C, E, and advanced age related macular degeneration. JAMA 1994;272(18):1413-20
13. Dietary carotenoids and Vitamins A, C, E and risk of breast cancer. J. Natl. Cancer Inst. 1999;91:547-556.
14. Serum carotenoids and breast cancer. Am. J. Epidemiol. 2001; 153:1142-1147.
15. Antimutagenicty of xanthophylls present in Aztec marigold (Tagetes erecta) against 1-nitropyrene. Mutat. Res. 1997; 389:219-226.
16. Antimutagenic activity of natural xanthophylls against aflatoxin B1 in Salmonella typhimurium. Environ. Mol. Mutagen. 1997; 30:346-353
17. Dietary lutein but not astaxanthin or beta-carotene increases pim-1 gene expression in murine lyphocytes. Nutr. Cancer. 1999; 33:206-21
18. The effect of carotenoids on the expression of cell surface adhesion molecules and binding of monocytes to human aortic endothelial cells. Atherosclerrosis 2000; 150:265-274.
19.Fruit and vegetable intake in relation to risk of ischemic stroke. J. Am. Med. Assoc. 1999; 282:1233-1239
20. Carotene, carotenoids and the prevention of coronary heart disease. J. Nutr. 1999; 129:5-8.

วันศุกร์, มิถุนายน ๓๐, ๒๕๔๙

Why Giffarine is very popular in the worldwide?

Because Giffarine has high standard of manufacturing process and also has the good management system. So, Giffarine is the first in Thailand’s cosmetics industry to receive ISO 9001 certificate from BVQI. We selected the best quality of raw material with hypoallergic grade all over the world and we have the researching and developing the quality control at every point in the manufacturing process. Furthermore, we also have the good of after-sale service to our customers. So, Giffarine is a quality product which is recognized and accepted to the customers.

วันพุธ, มิถุนายน ๒๘, ๒๕๔๙

gifarine for your health

"สุขภาพดี" คือ ที่สุดของความปรารถนา การมีสุขภาพที่สมบูรณ์ แข็งแรง เกิดขึ้นได้จากการรับประทานอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ ดื่มน้ำสะอาด และ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ฯลฯ
แต่สำหรับวิถีชีวิตของคนในปัจจุบัน ซึ่งอยู่ในภาวะที่เร่งรีบ แข่งกับเวลา น้อยคนนักที่จะปฏิบัติสิ่งเหล่านี้ได้อย่างครบถ้วน ดังนั้นการมีสุขภาพที่ดี ด้วยอาหารเสริมสุขภาพ ที่อุดมด้วยคุณค่าและประสิทธิภาพ ที่เอื้อประโยชน์สูงสุดต่อร่างกาย เพื่อชีวิตที่ดี และมากด้วยคุณค่าของคุณและครอบครัว