วันจันทร์, กรกฎาคม ๐๓, ๒๕๔๙

บำรุงหัวใจ ด้วย สารสกัดจากเมล็ดองุ่น


สารสกัดจากเมล็ดองุ่น เป็นสารประเภท ไบโอฟลาโวนอยด์ มีสารที่สำคัญหลายตัว เป็น กลุ่มของโปรแอนโทรไซยานิดิน ( Proanthocyanidin หรือมีอีกชื่อว่า พีซีโอ ( PCO: Procyanidolic Oligomers ) มีประสิทธิภาพต้านอนุมูลอิสระแรงที่สุด จนได้ชื่อว่า ซุปเปอร์แอนตี้ออกซิแดน สาร พีซีโอตัวนี้มีมากที่สุดในเมล็ดองุ่น และใน เบอร์เบอรี่ เชอรี่ พลัม ถั่วและผักบางชนิด ประวัติการค้นพบสารสกัดจากเมล็ดองุ่น มาจาก การค้นพบทางการแพทย์ที่พบว่าคนที่ดื่มไวน์แดงเป็นประจำจะมีโอกาสเป็นโรคหัวใจ และมีอัตราตายจากโรคหัวใจ น้อยกว่าผู้อื่น ในครั้งแรกคิดว่าเป็นผลจากแอลกอฮอล์ ต่อมาจึงพบว่าส่วนใหญ่เป็นผลจากสารสกัดในเมล็ดองุ่น . ( อ้างอิงที่ 1 )

ประโยชน์
1. ลดการสะสมของโคเลสเตอรอลต่อผนังเส้นเลือด ทำให้เส้นเลือด ไม่ตีบตัน ลดการอุดตันของเส้นเลือด ( อ้างอิงที่ 2,4)
2. มีผลต่อกล้ามเนื้อหัวใจ โดยทำให้กล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรง และทนทานต่อภาวะการขาดเลือด และลดการเต้นผิดจังหวะ มีผลทำให้ลดอัตราตายจากโรคหัวใจ ( อ้างอิงที่ 3 )
3. มีผลยับยั้งเซลล์มะเร็งหลายชนิด เช่น ปอด กระเพาะอาหาร มะเร็งต่อมลูกหมาก และมะเร็งเต้านมในคน ( อ้างอิงที่4- 6 )
4. สามารถป้องกันเซลล์มะเร็งในช่องปาก จมูก หลอดอาหารในกลุ่มประชากรที่เคี้ยวใบชา ซึ่ง เสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งชนิดนี้ ( อ้างอิงที่ 7)

การทานผักและผลไม้ที่มี เบต้าคาโรทีน วิตามิน ซี วิตามิน อี สูงสามารถที่จะลดอุบัติการการเป็นมะเร็งเต้านม และมะเร็งปอด และยังลด อุบัติการของโรคหัวใจขาดเลือด ทั้งหมดนี้มีงานวิจัยสนับสนุนในประชากรนับหมื่นคน ( อ้างอิงที่ 8-10 12-13,16 )

กล่าวโดยสรุปแล้วสารต้านอนุมูลอิสระ มีผลดีต่อร่างกาย เป็นสารธรรมชาติที่ช่วยชะลอการแก่ และลดมะเร็งต่าง ๆ และลดอุบัติการโรคหัวใจขาดเลือดได้จริง มีมากในผักและผลไม้หลายชนิด ซึ่งอาจจะหารับประทานได้ไม่ยาก

เอกสารอ้างอิง
1. Grape seed proanthocyanidins improved cardiac recovery during reperfusion after ischemia in isolated rat hearts. Am J Clin Nutr 2002 May;75(5):894-9 2002;75(5):894-9.
2. Proanthocyanidin-rich extract from grape seeds attenuates the development of aortic atherosclerosis in cholesterol-fed rabbits. Atherosclerosis 1999;142(1):139-49.
3. Grape seed proanthocyanidins improved cardiac recovery during reperfusion after ischemia in isolated rat hearts. Am J Clin Nutr 2002 May;75(5):894-9 2002;75(5):894-9.
4. Free radicals and grape seed proanthocyanidin extract: importance in human health and disease prevention. Toxicology 2000 Aug 7;148(2-3):187-97 2002;148(2-3):187-97.
5. Anticarcinogenic effect of a polyphenolic fraction isolated from grape seeds in human prostate carcinoma DU145 cells: modulation of mitogenic signaling and cell-cycle regulators and induction of G1 arrest and apoptosis. Mol Carcinog 2000 Jul;28(3):129-38 2002;28(3):129-38.
6. A polyphenolic fraction from grape seeds causes irreversible growth inhibition of breast carcinoma MDA-MB468 cells by inhibiting mitogen-activated protein kinases activation and inducing G1 arrest and differentiation. Clin Cancer Res 2000 Jul;6(7):2921-30 2002;6(7):2921-30.
7. Protective effects of antioxidants against smokeless tobacco-induced oxidative stress and modulation of Bcl-2 and p53 genes in human oral keratinocytes. Free Radic Res 2001 Aug;35(2):181-94 2002;35(2):181-94.
8. Intake of vitamins E, C, and A and risk of lung cancer. The NHANES I epidemiologic follow-up study. First National Health and Nutrition Examination Survey. Am J Epidemiol 1997;146(3):231-43.
9. Dietary carotenoids and vitamins A, C, and E and risk of breast cancer. J Natl Cancer Inst 1999;91(6):547-56.
10. Dietary antioxidants and risk of myocardial infarction in the elderly: the Rotterdam Study. Am J Clin Nutr 1999;69(2):261-6.

บำรุงสายตา


สาร ลูทีนและซีแซนทีน เหมาะกับผู้ใช้สายตามาก ผู้สูงอายุ ผู้ที่ทำงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ หรืออยู่กับแสงสว่างจ้า กลางแดด ผู้ที่ต้องขับรถกลางคืนบ่อย ๆ ผู้ที่โดนแฟลช ดูทีวีมากและนาน ผู้ป่วยเบาหวาน โรคหัวใจ มะเร็งเต้านม


ประโยชน์ โดยสรุปของสาร ลูทีนและซีแซนทีนที่มีงานวิจัยมีดังนี้คือ


ช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคต้อกระจก และโรคจอตาเสื่อม ( AMD ) มะเร็งเต้านมและโรคหลอดเลือดหัวใจ
รายละเอียดดังนี้


ลูทีน (Lutein) และซีแซนทีน (Zeaxanthin) เป็นสารธรรมชาติจัดอยุ่ในกลุ่มของสารรงควัตถุที่มีสีในตระกูลของสาร แคโรทีนอยด์ แต่มีความแตกต่างจากคาโลทีนอยด์ชนิดอื่นตรงที่จะไม่เปลี่ยนไปเป็นวิตามิน เอ ลูทีน และซีแซนทีน มีในเนื้อเยื่อของร่างกายมนุษย์หลายจุดด้วยกัน ส่วนของร่างกายที่มีสาร ลูทีน และซีแซนทีน ได้แก่ในลูกตา คือ ที่เลนส์ตา และจอรับภาพของตา คือเรติน่า ตรงตำแหน่ง จุดรับภาพของลูกตา ( Macula ) ซึ่งเป็นตำแหน่งที่สำคัญที่สุดในจอตาเรติน่าเพราะเป็นจดุที่รูปภาพและแสงส่วนมากจะมาตกบริเวณนี้ เป็นส่วนที่จอตารับภาพได้ชัดที่สุดนั่นเอง ในธรรมชาติแล้วแม้จะมีแคโรทีนอยด์มากกว่า 600 ชนิด แต่มีเพียง 20 ชนิดเท่านั้นที่พบในมนุษย์ และมีเพียง 2 ชนิดเท่านั้นที่พบในจุดรับภาพของลูกตา ( Macula ) คือ ลูทีน ( Lutein ) และ ซีแซนทีน ( Zeaxanthin ) ในจอตาทั้งคู่ทำหน้าที่
: ช่วยกรองหรือป้องกันรังสีจากแสงแดดที่เป็นอันตรายต่อดวงตา
: ช่วยปกป้องเซลล์ของจอประสาทตาไม่ให้ถูกทำลายโดยการลดอนุมูลอิสระและกรองแสงสีน้ำเงินที่จะทำลายดวงตา


นอกจากนี้ ลูทีน และซีแซนทีน ยังพบได้ใน ตับ ตับอ่อน ไต ต่อมหมวกไต และเต้านมแต่ก็เป็นสารที่ร่างกายสังเคราะห์เองไม่ได้ ร่างกายของเราจะได้รับสารนี้ก็ต่อเมื่อรับประทานพืชผักที่มีสารนี้เท่านั้น แต่สารซีแซนทีนนอกจากจะได้จากอาหารส่วนหนึ่งแล้ว ร่างกายสามารถเปลี่ยนสารลูทีนในตาไปเป็นสารซีแซนทินได้ พืชผักที่มีสาร ลูทีน และซีแซนทีน โดยมากมักจะเป็นผัก ผลไม้ ที่มีสีเหลืองและสีเขียวเข้ม เช่น ข้าวโพด ผักกาด ผักปวยเล้ง คะน้า ผักโขม


ลูทีนและซีแซนทีน มีประโยชน์ในโรคหลายชนิดด้วยกัน ที่สำคัญคือ โรคต้อกระจก และโรคโรคจุดรับภาพเสื่อม โรคหัวใจและหลอดเลือด และช่วยลดอุบิตการณ์ในโรคมะเร็ง บางชนิด


โรคต้อกระจก ( Cataracts )
คือภาวะที่กระจกตา หรือเลนส์ตาขุ่นทำให้แสงไม่สามารถผ่านเข้าไปในตาได้ตามปกติ ตาจะมัวมากน้อยขึ้นอยู่กับต้อกระจกขุ่นมากน้อยแค่ไหน ต้อกระจกไม่ใช่โรคติดต่อ แต่อาจเป็นพร้อมกันทั้งสองตา ต้อกระจกจะค่อย ๆ ขุ่นไปอย่างช้า ๆ ใช้เวลาเป็นปี ๆ ต้อกระจกไม่ใช่โรคมะเร็ง ต้อกระจกสามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัด การผ่าตัดลอกต้อกระจกขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละคนโดยจักษุแพทย์จะเป็นผู้ให้คำแนะนำ และเลือกวิธีการผ่าตัดให้ได้ดีที่สุด


สาเหตุหลัก คือ การเปลี่ยนแปลงของส่วนประกอบของเลนส์ตา ทำให้เลนส์ขุ่น และนิวเคลียสแข็งขึ้น พบการเปลี่ยนแปลงนี้ในผู้สูงอายุ พบบ่อยตั้งแต่อายุ 50 ปีขึ้นไป สาเหตุอื่น เช่น จากกรรมพันธุ์ จากอุบัติเหตุตา จากการติดเชื้อ จากการติดเชื้อในครรภ์มารดา ถ้าพบตั้งแต่เกิดก็เรียกว่า “ต้อกระจกแต่กำเนิด” เช่นในเด็กที่เกิดหลังจากมารดาติดหัดเยอรมันระหว่างตั้งครรภ์ ในคนที่เป็นเบาหวานพบว่าเป็นต้อกระจกเร็วกว่าคนธรรมดาอย่างมาก ตาปกติเลนส์ตาจะใส และปล่อยให้แสงผ่านไปได้ แต่เมื่อเป็นต้อกระจก เลนส์ตาจะขุ่นแสงผ่านเข้าไม่ได้ เมื่อเริ่มเป็นต้อกระจก ผู้ป่วยจะรู้สึกตาข้างนั้นมัวคล้ายมองผ่านหมอก อาจมองเห็นภาพซ้อน ขับรถตอนกลางคืนลำบากขึ้น เมื่อต้อกระจกเป็นมากขึ้น จะสามารถสังเกตเห็นต้อสีขาวที่ม่านตาได้


การตรวจวินิจฉัย เมื่อมีอาการตามัวควรไปรับการตรวจจากจักษุแพทย์ ต้อกระจกจะทำให้สายตามัวไปทีละน้อย เมื่อต้อสุกจะมองเห็นแต่มือไหว ๆ หรือเห็นเพียงแสงไฟเท่านั้น


โรคจุดรับภาพเสื่อม( Age-Related Macula Degenerationหรือ AMD )
เกิดจากการเสื่อมของจุดรับภาพ (Macular) ซึ่งเป็นกลางจอตา (Retina) ทำให้การมองเห็นภาพเบลอ บิดเบี้ยวบางครั้งอาจรุนแรงขนาดเห็นจุดดำมาบังภาพอยู่ตลอดเวลาอาจมีสาเหตุมาจาก
- ปัจจัยทางธรรมชาติที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้เช่น การเสื่อมสภาพของดวงตาเมื่ออายุเพิ่มขึ้น หรือการถ่ายทอดผ่านทางกรรมพันธุ์จากบรรพบุรุษ
- ปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ เช่น
: การเผชิญแสงแดดจ้า ทำให้ดวงตาได้รับรังสี UV โดยตรง
: การมีพฤติกรรมชอบบริโภคอาหารที่มีไขมันและคอเรสเตอรอลสูง เพราะอาหารประเภทนี้อุดมไปด้วยอนุมูลอิสระที่จะไปทำลายเนื้อเยื่อในร่างกายให้เสื่อมสภาพได้ รวมถึงการขาดสารอาหารบางชนิด
: การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์สูงเนื่องจากเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์จะเป็นตัวเร่งให้เกิดความเสื่อมของเซลล์ในร่างกาย
: การสูบบุหรี่ เพราะควันในบุหรี่มากไปด้วยอนุมูลอิสระที่จะไปทำลายเซลล์ในตา
- ปัจจัยที่เกิดจากอาการเจ็บป่วยของโรคอื่น เช่นโรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน ก็มีส่วนเนื่องจากโลหิดในตาเสื่อมลง จึงส่งผลให้หลอดเลือดฝอยของจอประสาทตารั่วซึมหรือแตกง่าย


ลูทีนและซีแซนทีน กับโรคต้อกระจก
กลไกของการที่ ลูทีน และซีแซนทีน ช่วยลดหรือป้องกัน หรือชะลอการเกิดต้อกระจกได้นั้นเป็นเพราะ เป็นคุณภาพของสารเองที่จะลดกลไกการเกิดความเสื่อม ของโรคต้อกระจกโดยตรง ( อ้างอิงที่ 1) นอกจากนี้ก็ยังพบว่าทั้ง ลูทีน และซีแซนทีน ต่างก็มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสสระ ซึ่งสามารถลดความเสี่ยงในโรคทึ่เกิดจากการมีสารอนุมูลอิสสระสูงได้ ( อ้างอิงที่ 2,3) มีการค้นพบที่ชัดเจนว่า การได้รับแสงเป็นประจำได้ก่อให้เกิดการสร้างอนุมูลอิสสระใน กระจกตาและจอตาได้จริง มีผลทำให้เกิดออกซิเดชั่นของโปรตีนและไขมันในเลนส์ตา ทำให้ไปในทิศทางของความเสื่อมของเลนส์ตาและก่อให้เกิดต้อกระจกในผู้สูงอายุได้ ( อ้างอิงที่ 4) จึงเป็นเหตุผลที่ชัดเจนว่าทำไมสารลูทีน และซีแซนทีน จึงสามารถลดความเสี่ยงของโรคต้อกระจกและโรคของจอตาคือโรค โรคจุดรับภาพเสื่อม ซึ่งมีกลไกการเกิดโรคจากความเสื่อมและอนุมูลอิสสระได้เช่นกัน ในเรื่องของต้อกระจก ได้มีการวิจัยวัดความขุ่นของเลนส์ตา ระดับของลูทีน และซีแซนทีน ในกระแสเลือด ในกลุ่มผู้สูงอายุต่างๆ พบว่า การมีระดับ ของลูทีน และซีแซนทีน ในกระแสเลือดสูงจะผกผันกับความขุ่นของเลนส์ตาในผู้สูงอายุ เป็นการวิจัยของจักษุแพทย์ และผู้วิจัยสรุปว่า ลูทีน และซีแซนทีน น่าจะลดการเกิดความเสื่อมของเลนส์ตาในผู้สูงอายุได้จริง ( อ้างอิง ที่ 5) ยังมีการวิจัยว่าการรับประทานลูทีน ในปริมาณสูง เพิ่มความสามารถในการมองเห็น ของผู้ป่วยที่เป็นต้อกระจกไปแล้ว การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยที่ดีมาก และทำการทดลองเป็นเวลานานถึงสองปีทีเดียว ( อ้างอิง ที่ 6 ) การวิจัยที่ยิ่งใหญ่ถึงคุณประโยชน์ของลูทีน และซีแซนทีน ทำในอเมริกา สองงานวิจัย งานวิจัยแรกทำที่ Harvard School of Public Health, Boston ในผู้ชาย 36,644 คน ที่ได้รับอาหารเสริมและวิตามินต่างๆ พบว่ากลุ่มที่ได้รับอาหารเสริม เป็น ลูทีน และซีแซนทีน จะลดความเสี่ยงของโรคต้อกระจกถึง 19% ( อ้างอิงที่ 7 ) และอีกงานวิจัยทำที่ University of Massachusetts ทำในสุภาพสตรี ถึง 50, 461 คน เป็นการวิจัยทำนองเดียวกัน แต่ทำในผู้หญิงเท่านั้นพบว่า ลูทีน และซีแซนทีน จะลดความเสี่ยงของโรคต้อกระจกถึง 22% ( อ้างอิงที่ 8 )นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่ทำที่ University of Wisconsin-Madison Medical School ในผู้สูงอายุ 43-84 ปี จำนวน1,354 คน พบว่า ลดอุบัติการณ์ของ ต้อกระจกที่เกิดตรงกลางเลนส์ ( nuclear cataracts ) ได้ประมาณ 50% ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงมาก ( อ้างอิงที่ 9 ) เนื่องจากมีงานวิจัยที่ชัดเจนมากมายถึงขนาดนี้จึงเป็นที่ยอมรับว่า ลูทีน และซีแซนทีนลดอุบัติการณ์โรคต้อกระจกในผู้สูงอายุได้จริง


ลูทีน และซีแซนทีน กับโรคจุดรับจอภาพเสื่อม
นอกจาก ลูทีนและซีแซนทีน จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต้อกระจกแล้ว ยังพบว่ามีประโยชน์ในโรคโรคจุดรับภาพเสื่อม ซึ่งมีหลายๆการศึกษาสนับสนุนข้อมูลดังกล่าว โดยพบว่า ถ้าปริมาณ Lutein & Zeaxanthin ในลูกตาลดน้อยลง จะพบความเสี่ยงมากขึ้นในเป็นโรคโรคจุดรับภาพเสื่อม ( อ้างอิงที่ 10 ) และความเสี่ยงในการเป็นโรคโรคจุดรับภาพเสื่อม จะลดลง หากมีปริมาณ Lลูทีนและซีแซนทีน ในเลือดสูงขึ้น ( อ้างอิงที่ 11,12 ) แสดงให้เห็นว่า การบริโภค อาหารที่มีลูทีนและซีแซนทีน สามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคได้


ลูทีน กับมะเร็งเต้านม
ในการวิจัยของพยาบาล Nurse’s Health Study, Zhang และคณะ . พบว่ามีคนที่บริโภคอาหารที่มี ลูทีนและซีแซนทีน ปริมาณมากอาจลดอุบัติการณ์ของโรคมะเร็งเต้านมในสตรีช่วงหมดประจำเดือน ได้อย่างมีนัยสำคัญ แม้ว่า เปอร์เซนต์การลดอุบัติกาณ์จะไม่มากนัก แต่ก็น่าสนใจอย่างยิ่ง ( อ้างอิงที่ 13) ในทำนองที่สอดคล้องกัน ก็มีผู้วิจัยพบว่า ลูทีน ลดอุบัติการณ์มะเร็งเต้านมได้จริงในสตรีกลุ่มที่มีความเสี่ยงคือมีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม (อ้างอิงที่ 14) ที่เป็นเช่นนี้อธิบายได้จากกลไกของตัว ลูทีนเอง เพราะพบว่า สาร ลูทีนมีคุณสมบัติยังยั้งการก่อมะเร็งได้ด้วยกลไกหลายชนิด เช่น มีผลต่อการเกิด mutagens 1-nitro pyrene and aflatoxin B1 ( อ้างอิงที่ 15,16) และมีผลต่อยีนที่มีผลต่อ T-cell transformations (อ้างอิงที่ 17)


ลูทีน ซีแซนทีน กับโรคหลอดเลือดหัวใจ
โรคหลอดเลือดหัวใจ สาเหตุหลักมักเกิดจากการที่เส้นเลือดมีการหนาตัวตีบแคบลง จากการมีตะกอน (ทางการแพทย์เรียกว่า พล๊าค ( Plaque ) ในผนังเส้นเลือด ทำให้เส้นเลือดตีบแคบทั่วไป เพียงแต่บริเวณที่สำคัญที่ต้องการเลือดมากที่สุดตลอดเวลาคืออวัยวะที่ไม่มีการหยุดพัก คือหัวใจ เป็นจุดที่เกิดปัญหาได้ก่อน ทำให้มีการขาดเลือดไปเลี้ยงหัวใจ ผู้ป่วยมักมีอาการเจ็บแน่นหน้าอก อาจมีหัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือกล้ามเนื้อหัวใจตายจนหัวใจวาย หรือหัวใจหยุดเต้นและถึงแก่กรรมโดยฉับพลันได้ บางรายอาการทางหัวใจไม่มาก แต่เมื้อหัวใจเต้นผิดจังหวะนานๆ ก็อาจจะทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ มีอัมพาตแขนขาอ่อนแรง หรืออัมพาตครึ่งซีก ตามมาได้ สาเหตุที่สำคัญที่ก่อให้เกิดพล๊าคในผนังเส้นเลือดคือภาวะไขมันในเลือดสูงและมีสารอนุมูลอิสสระในผนังเส้นเลือด ก่อให้เกิดการแทรกซึมของไขมันโคเลสเตอรอลลงไปสะสมในผนังเส้นเลือดทำให้เกิดพล๊าคและมีการตีบตันได้ งานวิจัยพบว่า ลูทีน สามารถลดกลไกการเกิดพล๊าคดังกล่าวได้ ( อ้างอิงที่ 18 ) พบว่าในผู้ที่บริโภคอาหารที่มีลูทีนสูงจะลดอัตราการเป็นโรคหัวใจขาดเลือด และโรคหลอดเลือดตีบในสมองอย่างมีนัยสำคัญ ( อ้างอิงที่ 19,20)


กล่าวโดยสรุป ลูทีนและซีแซนทีน จึงเป็นสารอาหารธรรมชาติที่มีคุณประโยชน์เป็นที่เชื่อถือได้ ในหลายโรคด้วยกัน มีความปลอดภัย และเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้บริโภค


เอกสารอ้างอิง


1. The Body of Evidence to Support a Protective Role for Lutein and Zeaxanthin in Delaying Chronic Disease. Overview The American Society for Nutritional Sciences J. Nutr. 132:518S-524S, 200
2. Antioxidant and prooxidant properties of carotenoids. Arch. Biochem. Biophys. 385:20-27
3. Biochim. Biophys. Acta 1991;1068:68-72
4. Ocular photosensitization. Photochem. Photobiol. 1986;46:1051-1055
5. Lens aging in relation to nutritional determinants and possible risk factors for age-related cataract. Arch Ophthalmol. 2002 Dec;120(12):1732-7.
6. Lutein, but not alpha-tocopherol, supplementation improves visual function in patients with age-related cataracts: a 2-y double-blind, placebo-controlled pilot study. Nutrition. 2003 Jan;19(1):21-4
7. A prospective study of carotenoid intake and risk of cataract extraction in U.S. men. Am. J. Clin. Nutr. 1999; 70:517-524.
8. A prospective study of carotenoid and vitamin A intake and risk of cataract extraction among U.S. women. Am. J. Clin. Nutr. 1999;70:509-516.
9. Antioxidant intake and risk of incident age-related nuclear cataracts in the Beaver Dam Eye Study. Am J Epidemiol. 1999 May 1;149(9):801-9.
10. The macular pigment: a possible role in protection from age-related macular degeneration. Adv Pharmacol 38:537-56
11. Antioxidant status and neovascular age-related macular degeneration. Arch Opthamol 111:104-9
12. Dietary carotenoids, vitamin A, C, E, and advanced age related macular degeneration. JAMA 1994;272(18):1413-20
13. Dietary carotenoids and Vitamins A, C, E and risk of breast cancer. J. Natl. Cancer Inst. 1999;91:547-556.
14. Serum carotenoids and breast cancer. Am. J. Epidemiol. 2001; 153:1142-1147.
15. Antimutagenicty of xanthophylls present in Aztec marigold (Tagetes erecta) against 1-nitropyrene. Mutat. Res. 1997; 389:219-226.
16. Antimutagenic activity of natural xanthophylls against aflatoxin B1 in Salmonella typhimurium. Environ. Mol. Mutagen. 1997; 30:346-353
17. Dietary lutein but not astaxanthin or beta-carotene increases pim-1 gene expression in murine lyphocytes. Nutr. Cancer. 1999; 33:206-21
18. The effect of carotenoids on the expression of cell surface adhesion molecules and binding of monocytes to human aortic endothelial cells. Atherosclerrosis 2000; 150:265-274.
19.Fruit and vegetable intake in relation to risk of ischemic stroke. J. Am. Med. Assoc. 1999; 282:1233-1239
20. Carotene, carotenoids and the prevention of coronary heart disease. J. Nutr. 1999; 129:5-8.