วันศุกร์, มิถุนายน ๒๙, ๒๕๕๐

ความนิยมชาเขียว

ในบ้านเราเพิ่มพูนขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากชาที่ใช้ชง น้ำชาบรรจุขวด บรรจุกล่องจากหลากหลายผู้ผลิตแล้วยังมีผลิตภัณฑ์ต่างๆที่นำชาเขียวไปเป็นส่วนผสมทั้งในผลิตภัณฑ์อาหารผลิตภัณฑ์ความงามและสุขภาพไม่เว้นแม้แต่ผลิตภัณฑ์เพื่ออนามัยส่วนตัวของคุณผู้หญิง การใช้ชาเขียวในผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายเช่นนี้อาจจะทำให้บางคนสนใจอยากรู้จักชาเขียว เพิ่มขึ้น บทความนี้จะบอกเราว่าเครื่องดื่มสีเขียวจาง กลิ่นหอม รสชาติละมุนลิ้นชนิดนี้มีความน่าสนใจสมกับที่ได้รับความนิยมสักเพียงใด
พันธ์ไม้ชา...Camellia sinensis ไม่ว่าชาจะมีต้นกำเนิดมาจากที่ใดก็ตามทุกแหล่งต่างก็เห็นพ้องต้องกันว่าชาที่คนทั่วโลกชื่นชอบกันนั้น ผลิตมาจากพืชที่มีชื่อไพเราะเพราะพริ้งว่า“คาเมลเลีย ไซเนนซิส” (Camellia sinensis) ซึ่งเป็นพืชพันธ์พื้นเมืองที่มีต้นกำเนิดในทิเบต อินเดีย จีน และพม่าคาเมลเลีย ไซเนนซิส เป็นไม้ดอกที่อยู่ในวงศ์เทียซิอี(Theaceae) ที่มีจำนวนทั้งสิ้น 28 สกุล และแบ่งออกเป็น520 ชนิด คาเมลเลีย ไซเนนซิส หรือที่เราเรียกกันติดปากว่า “ต้นชา” (Tea Plant) นั้นเป็นต้นไม้ที่คงความเขียวอยู่ตลอดปี และถ้าไม่มีการเก็บเกี่ยวสามารถสูงได้ถึง 10 เมตร อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ได้ชาที่มีคุณภาพดี จะมีการเก็บเกี่ยวยอดและใบอ่อนสองใบของต้นชาซึ่งการเด็ดปลายยอดอ่อนนั้นส่งผลให้ต้นชามีใบดกหนาและสูงเพียงประมาณ 90-120 เซนติเมตร โดยปกติแล้วการเก็บเกี่ยวจะเริ่มเมื่อต้นชามีอายุได้สี่ปี เมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยวจะมีการเก็บเกี่ยวใบชาด้วยมือทุกๆ สองสัปดาห์ และในแต่ละปี ต้นชาแต่ละต้นสามารถผลิตใบชาได้ 100 กรัม และสามารถผลิตอีกได้เรื่อยๆจนถึงอายุ 25-50 ปี หรือแม้จนกระทั่งถึง 100 ปี ถ้าได้รับการบำรุง ดูแลใส่ปุ๋ยเป็นอย่างดี การเพาะพันธุ์ชาทำได้โดยการผสมข้ามต้น ทั้งนี้เพราะต้นชาไม่สามารถผสมเกสรในตัวของมันเองได้ การผสมพันธุ์จะสำเร็จได้ต้องอาศัยสิ่งมีชีวิต เช่น แมลง เป็นพาหะในการนำพาเกสร
ชามีกี่ชนิด ?
ชานั้นแบ่งออกได้เป็นชนิดหลักๆ สามชนิดคือ ชาดำ (black tea) ชาอูหลง (oolong) และชาเขียว(green tea) ชาทุกชนิดต่างก็ได้มาจากใบของพืชชนิดเดียวกัน แต่ที่เรียกชื่อแตกต่างกันนั้นก็เนื่องมาจากกระบวนการผลิต (การหมัก) ใบชาที่แตกต่าง กันไปการผลิตชาดำ ทำได้โดยการนำใบชามาทำให้แห้ง โดยการรีดน้ำที่หล่อเลี้ยงให้ใบชาชุ่มชื้นออกมา เพื่อทำให้ใบชาเหี่ยวและอ่อนลีบโดยใช้ระยะเวลาทั้งสิ้น 16 ชั่วโมง หลังจากนั้นจึงนำใบชาที่แห้งลีบแล้วนั้นมา กลิ้งด้วยลูกกลิ้ง บด และฉีกต่อจากนั้นจึงนำไปหมัก ซึ่งหลังจากกระบวนการหมักทั้งสิ้นแล้วจะได้ใบชาที่แห้งสนิท
การผลิตชาอูหลง ผ่านกระบวนการผลิตด้วย การหมักแต่เพียงครึ่งหนึ่ง จึงทำให้มีรสชาติและสรรพคุณอยู่ระหว่างชาดำและชาเขียว กระบวนการผลิตชาอูหลงเริ่มจากนำใบชามาทำให้แห้งลีบ โดยใช้เวลาทั้งสิ้น 6 ชั่วโมง หลังจากนั้นจึงนำไปกลิ้งด้วยลูกกลิ้งฉีกและหมักด้วยระยะเวลาสั้นๆ ชาอู่หลงเริ่มผลิตเป็นครั้งแรก ในภาคตะวันออกของประเทศจีนและทางภาคเหนือของไต้หวัน
การผลิตชาเขียว ทำโดยนำใบชามาอบไอน้ำ หลังจากนั้นจึงนำไปกลิ้งด้วยลูกกลิ้งและทำให้แห้งอย่างรวดเร็ว ด้วยวิธีการดังกล่าวนี้จึงทำให้ใบชายังคงมีสีเขียวจากกระบวนการผลิตง่ายและน้อยขั้นตอนทำให้ชาเขียวยังคงมีสารในพืชที่มีประโยชน์ ที่เรียกว่า ไฟโตเคมิคัล(phytochemicals) หลงเหลืออยู่มากกว่าชาชนิดอื่นๆอย่างไรก็ตามโลกของชาไม่ได้มีเพียงแค่ชา ดำชาอูหลง หรือชาเขียวเท่านั้น ยังมีชาอีกชนิดหนึ่งที่ยังคงเป็นที่รู้จักกันน้อยมาก แต่กำลังได้รับความสนใจไป ทั่วโลก ไม่แพ้ชาประเภทอื่น นั่นก็คือ ชาขาว (whitetea) ชาขาวไม่ได้หมายถึงชาใส่นมที่หลายๆ คนชื่นชอบแต่ที่ชื่อว่าชาขาวก็เพราะว่าลักษณะพิเศษของชาชนิดนี้ที่ใบชาและยอดอ่อนถูกนำมาอบไอน้ำ และทำให้แห้งด้วยวิธีง่ายๆ ชาขาวได้มาจากต้นชาเช่นเดียวกัน มีลักษณะใกล้เคียงกับชาเขียว แต่ชาขาวมีปริมาณไม่มากนักเนื่องจากในแต่ละปีจะสามารถเก็บเกี่ยวได้เฉพาะในบางวันเท่านั้น และช่วงเวลาการเก็บเกี่ยวในแต่ละครั้งก็สั้นมากและต้องทำอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่ยอดอ่อนของต้นชาเพิ่งจะผลิออกมาใหม่ และยังคงมีเส้นไหมหรือเส้นขนละเอียดสีเงินปกคลุมอยู่การเก็บเกี่ยวโดยเลือกเอาแต่เฉพาะยอดอ่อนที่ยังเต็มไปด้วยขนสีขาวปกคลุมนี่เอง ทำให้ได้ชาที่มีลักษณะพิเศษคือมีสีขาว ซึ่งเป็นที่มาของชื่อชาขาวนั่นเอง
สารประกอบและสรรพคุณ ของชาเขียวจากการศึกษาและรายงานทางการแพทย์มากมาย โดยสถาบันที่เชื่อถือได้ต่างก็ยืนยันว่าชาเขียวมีสรรพคุณมหาศาลในการบำบัดรักษาโรค การดื่มชาเขียวทำให้ร่างกายได้รับสารหลายชนิดที่ให้คุณประโยชน์ต่อร่างกาย เปรียบเทียบกับชาดำและชาอูหลงแล้ว ชาเขียวมีสาร แคเทชิน (Catechin) ซึ่งเป็นสารในกลุ่มพอลิฟินอลล์ (polyphenols) เป็นปริมาณสูงถึง 15-30 %ของน้ำหนักชา ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่ ต่างเห็นพ้องต้องกันว่าสารแคเทชินในชาเขียวมีสรรพคุณเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ โดยทำให้กลุ่มอนุมูลอิสระที่ทำลายเซลล์ดีหรือ ปกติในร่างกายมีฤทธิ์เป็นกลาง ซึ่งจะว่าไปแล้วสารชนิดนี้นี่เองที่ให้ประโยชน์มากมายแก่ร่างกายจนนับไม่ ถ้วน
กล่าวโดยสรุปแล้ว ในแต่ละถ้วยของชาเขียวนั้นยังอุดมไปด้วยคุณประโยชน์มากมายต่อร่างกายดังต่อไปนี้
สดชื่น...แจ่มใส !!!
เอาตั้งแต่เริ่มแรกกันเลย ชาช่วยทำให้สิ่งแวดล้อมรอบตัวเราสดชื่น สะอาดปลอดโปร่งและน่าอยู่ขึ้นมีงานวิจัยชิ้นใหม่ชี้ว่า ถุงชา (tea bag) ช่วยบำบัดโรค“sick-house syndrome” หรือ “มลภาวะภายในอาคารเป็นพิษ” (Indoor Air Pollution) ซึ่งเป็นอาการป่วยที่มีสาเหตุมาจากการแพ้อากาศภายในอาคารและบ้านพักอาศัย เช่น สารเคมีจากสีทาบ้าน หรือจากเฟอร์ -นิเจอร์ต่างๆ ภายในบ้าน เนื่องจากสารฟอร์มัลดีไฮด์(formaldehyde) ที่ผสมอยู่ในสารเคมี เพื่อการตกแต่งบ้าน มักจะส่งกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ อาจเป็นสาเหตุทำให้ร่างกายเกิดอาการแพ้และมีปัญหาสุขภาพอื่นๆ จากการทดลองพบว่าใบชาดำหรือชาเขียว ทั้งที่ยังใหม่และที่ใช้แล้ว (ผ่านการชงแล้ว) จะดูดสารนี้ไว้แล้วไม่ปลดปล่อยสารกลับเข้าสู่บรรยากาศหลังจากดูดไว้แล้ว และถ้าทิ้งใบชาไว้ในที่อับหรือปิด เช่น ในตู้เก็บถ้วยชามใบชาจะช่วยลดปริมาณของสารฟอร์มัลดีไฮด์ที่มีอยู่ในอากาศอีกด้วย

ชาเขียว

ชาเขียวอุดมไปด้วยประโยชน์มากมายต่อร่างกาย ที่นอกจากจะให้ความสดชื่น แจ่มใสแล้ว ยังให้สรรพคุณดังต่อไปนี้
กำจัดเนื้อร้าย
บรรดานักวิจัยพบว่า Epigallocatechin (EGC)ในชาเขียวมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ที่จำเป็นต่อการเติบโตหรือการลุกลามของเซลล์มะเร็ง และสามารถทำลายหรือฆ่าเซลล์มะเร็งได้โดยไม่มีผลกระทบกับเซลล์ดีอื่นๆ ในร่างกาย จากการศึกษาวิจัยโดยมหาวิทยาลัยเพอร์ดู สหรัฐอเมริกา พบว่า ถ้าดื่มชาเขียวเป็นปริมาณมากกว่าสี่ถ้วยต่อวัน ร่างกายของเราจะได้รับสาร EGCที่ช่วยชะลอและป้องกันการเติบโตของเซลล์มะเร็งยังมีผลการวิจัยอื่นๆ อีกพบว่า ชาเขียวอาจจะเป็นอาวุธที่ใช้กำจัดบรรดาเนื้อร้ายต่างๆ ให้ราบคาบลงได้ ไม่ว่าจะเป็นโรคมะเร็งเต้านม มะเร็งในกระเพาะอาหารมะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งในหลอดอาหาร และมะเร็งในตับเป็นต้น
เรื่องของหัวใจ ???
มีการศึกษาว่า การดื่มชาเขียวช่วยลดอัตราการเสี่ยงจากการเป็นโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง (stroke) นักวิจัยกล่าวว่าสารต้านอนุมูลอิสระในชาเขียวน่าจะช่วยป้องกันไม่ให้ไขมันชนิดความหนาแน่นต่ำ (LDL-low density lipoprotein) ซึ่งเป็นไขมันชนิดไม่ดี ไม่ให้ปริมาณสูงจนเกินไป ซึ่งจะทำให้เกิดการก่อตัวของก้อนไขมันและส่งผลให้เกิดการอุดตันในหลอดเลือดได้ จากผลการวิจัยอื่นๆ ยังพบอีกว่า ชาเขียวมีสรรพคุณ เทียบเท่ายาแอสไพรินการช่วยยับยั้งการแข็งตัวของเลือดที่ผิดปกติ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของโรคหัวใจวาย และหลอดเลือดสมองพุแห่งวัยหนุ่มสาว
มีการพิสูจน์แล้วว่าสารต้านอนุมูลอิสระในชาเขียวสามารถช่วยชะลอความชราและคงความเยาว์วัยได้ (โอ้โฮ้ ! อะไรจะดีปานนั้น) สารต้านอนุมูลอิสระในชาเขียวไม่เพียงแต่จะมีประสิทธิภาพสูงมากกว่าวิตามินซีถึง 100 เท่า แต่ยังมีประสิทธิภาพสูงกว่าวิตามินอีอีกถึง 25 เท่าในการทำลายอนุมูลอิสระต้านโรคไขข้ออักเสบ
กล่าวกันว่าชาเขียวช่วยป้องกันโรคข้ออักเสบ รูห์มาติก (rheumatoid arthritis) ที่มักจะเกิดกับสตรีวัยกลางคน อาการของโรคโดยทั่วไปคือ มีอาการของการอักเสบบวมแดง ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อและข้อต่อลดระดับคอเลสเทอรอล
ขณะที่กาแฟเพิ่มระดับคอเลสเทอรอล ชาเขียวกลับช่วยลดระดับ คอเลสเทอรอล สารแคเทชินในชาเขียวช่วยทำลายคอเลสเทอรอลและกำจัดปริมาณของคอเรสเทอรอลในลำไส้ แค่นั้นยังไม่พอ ชาเขียวยังช่วยควบคุมน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับที่พอดีอีกด้วย
ควบคุมน้ำหนัก
ถ้าคุณกำลังพยายามลดน้ำหนักอยู่ การจิบชาเขียวสามารถช่วยได้ดีทีเดียว จากการศึกษาโดยมหาวิทยาลัยเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์พบว่า ชาเขียวช่วยเร่งให้ร่างกายมีการเผาผลาญอาหารและไขมันมากขึ้นต่อสู้กลิ่นปากและแบคทีเรียในปาก
การดื่มชาเขียวนอกจากจะทำให้ร่างกายอบอุ่น แล้ว ยังช่วยทำให้ลมหายใจสดชื่นและป้องกันการติดเชื้อได้ด้วย จากการศึกษโดยมหาวิทยาลัยเพส สหรัฐอเมริกาพบว่า สารสกัดจากชาเขียวมีสรรพคุณในการต่อสู้กับแบคทีเรีย โดยยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียและทำลายจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของโรคต่างๆอันที่จริงแล้วพบว่าชาเขียวเป็นตัวช่วยยาสีฟันและน้ำยาบ้วนปากต่อสู้กับเชื้อไวรัสในปากโดยกำจักเชื้อแบคทีเรียป้องกันฟันผุ
ชาเขียวมีสรรพคุณช่วยป้องกันฟันผุโดยช่วยยับยั้งแบคทีเรียที่ชื่อ Streptococcus mutans ซึ่งเป็นตัวการสำคัญที่ก่อให้เกิดหินปูนที่มาเกาะฟัน รวมทั้งยังช่วยยับยั้งการเติบโตของแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดกลิ่นปาก
ป้องกันเชื้อไวรัสเอชไอวี
เมื่อเร็วๆ นี้ มีการศึกษาพบว่า สารประกอบหลักในชาเขียวมีบทบาทสำคัญในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ข้อมูลในวารสารวิทยาภูมิคุ้มกันทางการแพทย์และโรคภูมิแพ้ฉบับประจำเดือนพฤศจิกายนได้ตีพิมพ์ไว้ว่า สารแคเเทชินในชาเขียวโดยเฉพาะพระเอกตัวเก่ง EGCG มีสรรพคุณป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า ชาเขียวเข้มข้นช่วยป้องกันไม่ให้เชื้อไวรัสเอชไอวีจับตัวกับเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดที่มีความสำคัญต่อภูมิคุ้มกันในร่างกายของคนเรา ที่เรียกว่า “ทีเซลล์” (T cells) ซึ่งเป็นด่านแรก ที่ทำให้มีโอกาสติดเชื้อเอชไอวีได้ ถ้ามีผลการศึกษาเพิ่มเติมยืนยันผลการวิจัยดังกล่าวนี้ นักวิจัยกล่าวว่าจะนำสารในชาเขียวมาใช้ทดลองในการผลิตยาชนิดใหม่เพื่อป้องกันการลุกลามของเชื้อเอชไอวีผลข้างเคียงที่อาจเกิดได้จากการบริโภค
ชาเขียว
อาจจะมีบางคนเกิดอาการแพ้เนื่องจากการบริโภคชาเขียวซึ่งพบไม่บ่อยนัก ซึ่งถ้าเกิดอาการดังกล่าวให้หยุดบริโภคชาเขียวและไปพบแพทย์โดยทันที โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามีอาการแพ้ที่รุนแรง เช่น หายใจติดขัดรู้สึกแน่นเหมือนมีอะไรติดคอ ริมฝีปาก ลิ้น และใบหน้าบวม หรือเป็นลมพิษ นอกจากนี้ ในบางคนที่บริโภคชาเขียวมากเกินไปเป็นระยะเวลานานอาจเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งในหลอดอาหาร และอาจมีผลข้างเคียงเล็กน้อยอื่นๆ เกิดขึ้นได้เช่นกัน ควรรีบปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ ถ้าเกิดอาการอย่างเช่นอาการเสียดคอและหน้าอก ท้องเสีย เบื่ออาหารมีอาการท้องผูกหรือท้องร่วง มีอาการตกใจ หงุดหงิดง่าย และเป็นกังวล นอนไม่หลับ หัวใจเต้นผิดปกติหรือปวดศีรษะ หรืออาจมีผลข้างเคียงอื่นๆ ได้อีกนอกจากที่กล่าวมาแล้วให้รีบปรึกษาแพทย์ ถ้ามีอาการผิดปกติที่สงสัยว่าอาจเกิดจากแพ้
นอกจากชาเขียวจะก่อให้เกิดผลข้างเคียงใน บางคนแล้ว ยังมีคนอีกกลุ่มหนึ่งที่ไม่ควรบริโภคชาเขียว หรือควรปรึกษาแพทย์ก่อนบริโภค ได้แก่ ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคหัวใจหรือความดันโลหิตสูง ผู้ที่เป็นโรคไต ผู้เป็นไฮเปอร์ไทรอยด์ (hyperthyroidismเป็นโรคที่เกิดจากการที่ ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนมากเกินไป) ผู้ที่กังวลง่ายหรือมีอาการผิดปกติทางระบบประสาท ผู้ที่มีเลือดออกผิดปกติ หรือมีการแข็งตัวของเลือดที่ผิดปกติ หรือผู้ป่วยที่กำลังรับประทานยาละลายลิ่มเลือด เช่น วาร์ฟาริน (warfarin)